สาระที่ ๒ การเขียน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

สาระที่ ๒    การเขียน

มาตรฐาน ท ๒.    ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราว ในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูล 

                               สารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ                 

 

ตัวชี้วัด

ผู้เรียนรู้อะไร

ผู้เรียนทำอะไรได้

. คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด

การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทยได้อย่างถูกต้องสวยงาม จะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด

ได้ถูกต้องตามรูปแบบตัวอักษรไทย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

. เขียนข้อความโดยใช้ถ้อยคำได้ ถูกต้องตามระดับภาษา 

การใช้ภาษาในงานเขียนมีหลายระดับ ได้แก่ ระดับทางการกึ่งทางการ และไม่เป็นทางการ ผู้เขียนจะต้องเขียนโดยใช้ถ้อยคำภาษา ให้ถูกต้องเหมาะสมตาม  สถานการณ์และโอกาส

เขียนข้อความตามสถานการณ์โอกาสต่างๆได้ถูกต้องเหมาะสม

. เขียนชีวประวัติหรือ     อัตชีวประวัติ โดยเล่าเหตุการณ์     ข้อคิดเห็น และทัศนคติในเรื่องต่างๆ

 

การเขียนชีวประวัติของบุคคลและอัตชีวประวัติของตนเอง ผู้เขียนจะต้องรวบรวมข้อมูลเรื่องราวและข้อคิดเห็นของบุคคลนั้น ๆนำมาเรียบเรียงโดยใช้ภาษาที่เหมาะสมสละสลวย สามารถสะท้อนข้อคิดให้แก่ผู้อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

เขียนชีวประวัติหรืออัตชีวประวัติของบุคคลได้

. เขียนย่อความ

 ( ONET 60 )

การเขียนย่อความเป็นการเขียนสรุปย่อเนื้อหาของเรื่องให้ได้ใจความครบถ้วนสมบูรณ์ ผู้เขียนจึงต้องอ่านเรื่องและเก็บใจความสำคัญมาสรุปย่อตามกระบวนการ

เขียนย่อความจากงานเขียนประเภทต่าง ๆ ได้

. เขียนจดหมายกิจธุระ

การเขียนจดหมายกิจธุระเป็นการเขียนจดหมายที่มีรูปแบบ
กึ่งราชการ ใช้ในการติดต่อประสานงานให้เกิดประโยชน์

กับตน  องค์กร หรือหน่วยงาน

เขียนจดหมายกิจธุระได้

 

. เขียนอธิบาย ชี้แจง     แสดงความคิดเห็น และ

โต้แย้ง อย่างมีเหตุผล

 ( ONET 60 )

การเขียนอธิบาย ชี้แจงแสดงความคิดเห็นและโต้แย้งอย่างมีเหตุผลจะต้องอาศัยข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอ จึงจะทำให้งานเขียนมีคุณภาพ

เขียนอธิบาย ชี้แจง แสดงความคิดเห็นและโต้แย้งเรื่องต่าง ๆอย่างมีเหตุผล

. เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และ    แสดงความรู้ ความคิดเห็น หรือ     โต้แย้งในเรื่องต่างๆ  ( ONET 60 )

การเขียนวิเคราะห์วิจารณ์และแสดงความรู้  ความคิดเห็นหรือโต้แย้งเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผลจะต้องอาศัยข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอ จึงจะทำให้งานเขียนมีคุณภา

เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความรู้ ความคิดเห็นหรือโต้แย้งในเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผล

. กรอกแบบสมัครงาน          พร้อมเขียนบรรยาย เกี่ยวกับ ความรู้และทักษะของตนเอง ที่เหมาะสมกับงาน

การกรอกใบสมัครงานจะต้องกรอกข้อมูลตามแบบรายการของหน่วยงานที่รับสมัคร ผู้กรอกจะต้องศึกษาข้อความในแบบรายการให้เข้าใจ แล้วจึงกรอกข้อมูลของตนเองโดยใช้ถ้อยคำภาษาที่กระชับ ชัดเจน ตรงความเป็นจริง ด้วยลายมือที่อ่านง่ายไม่ขูดลบขีดฆ่า นอกจากนี้จะต้องเขียนบรรยายความรู้ ความสามารถ ทักษะของตนเองให้เหมาะสมกับงานที่สมัคร จึงจะเป็นประโยชน์ต่อการสมัครงาน

๑.กรอกใบสมัครงาน

๒.เขียนบรรยายความรู้ความสามารถของตนเองที่เหมาะสมกับงาน

. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า และโครงงาน

การเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเป็นการเขียนที่ต้องอาศัยข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า นำมาวิเคราะห์เรียบเรียงอย่างเป็นระบบด้วยภาษาแบบแผน  มีรูปแบบและการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ชัดเจนส่วนการเขียนรายงานโครงงานเป็นการนำเสนอกระบวนการและผลการศึกษาค้นคว้า

เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าและรายงานโครงงานได้

 

 

๑๐. มีมารยาทในการเขียน

การตระหนักถึงความจำเป็นของการมีมารยาทในการเขียนและปฏิบัติตนให้เป็นผู้ที่มีมารยาทในการเขียนได้ดีจนเป็นนิสัย สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น

มีมารยาทในการเขียนและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้

หน้าเว็บย่อย (9): writing1 writing2 writing3 writing4 writing5 writing6 writing7 writing8 writing9
Comments