ตัวชี้วัด
|
ผู้เรียนรู้อะไร
|
ผู้เรียนทำอะไรได้
|
๑.
อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองได้ถูกต้อง และเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน
|
อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักการอ่าน
สามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้เรื่องอื่นไปเป็นอย่างดี
|
อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน
|
๒. ระบุความแตกต่างของ
คำที่มีความหมายโดยตรง และ ความหมายโดยนัย ( ONET 60 )
|
คำในภาษาไทยมีทั้งความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัยผู้อ่านจะต้องพิจารณาบริบทของคำแล้วแปลความหรือตีความจึงจะสามารถบอกความหมายของคำได้
|
บอกความหมายของคำที่มีความหมายโดยตรงหรือโดยนัยจากงานเขียนประเภทต่าง
ๆ ได้
|
๓. ระบุใจความสำคัญและ
รายละเอียดของข้อมูลที่
สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน
( ONET 60 )
|
การอ่านงานเขียนประเภทต่าง
ๆ ผู้อ่านจะต้องระบุใจความสำคัญและใจความรองซึ่งสนับสนุน
ใจความหลัก
ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถสรุปใจความสำคัญและรายละเอียดของเรื่องได้
|
ระบุใจความสำคัญและรายละเอียดของข้อมูลที่สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน
|
๔. อ่านเรื่องต่างๆ แล้วเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด บันทึก ย่อความและรายงาน
( ONET 60 )
|
การเขียนกรอบแนวคิดผังความคิด เป็นการสรุปเรื่องราวที่อ่านในรูปแบบของกรอบหรือภาพ
และมีการเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหา การบันทึก
ย่อความ รายงาน เป็นการสรุปเรื่องที่อ่านในรูปแบบของงานเขียนสั้นๆ
ระบุใจความสำคัญ และเขียนขยายความให้เกิดความชัดเจนตามลำดับ
|
เขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด บันทึก
ย่อความและรายงานจากเรื่องที่อ่านได้
|
๕. วิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินเรื่องที่อ่านโดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจด้ดีขึ้น
( ONET 60 )
|
การอ่านโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบเรื่องที่อ่านกับงานเขียนเรื่องอื่น
ๆ ในด้านเนื้อหา กลวิธีการนำเสนอ
และคุณค่าของงานเขียนจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
|
อ่านงานเขียนแล้ววิเคราะห์
วิจารณ์และประเมินใน
เชิงเปรียบเทียบได้
|
๖. ประเมินความถูกต้องของข้อมูล ที่ใช้สนับสนุนในเรื่องที่อ่าน ( ONET 60 )
|
การอ่านข่าว เหตุการณ์
สารคดีผู้อ่านจะต้องประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้สนับสนุนในเรื่องที่อ่านด้วยข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น ๆ นำมาประกอบการพิจารณาลงความเห็น
|
อ่านแล้วประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้สนับสนุนในเรื่องที่อ่านด้วยข้อมูลจากแหล่งอื่น
ๆ
|
๗. วิจารณ์ความสมเหตุสมผล การลำดับความ
และ ความเป็นไปได้ของเรื่อง ( ONET 60 )
|
การวิจารณ์ความสมเหตุสมผล การลำดับความ
และความเป็นไปได้ของเรื่องที่อ่าน โดยอาศัยหลักการ
วิธีการ และข้อมูลที่เชื่อถือได้มาประกอบ ทำให้การวิจารณ์เรื่องต่าง
ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
วิจารณ์ความสมเหตุสมผล
การลำดับความ และความเป็นไปได้ของเรื่องทีอ่านได้
|
๘.
วิเคราะห์เพื่อแสดงความคิดเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ( ONET 60 )
|
การแสดงความคิดเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
ต้องอาศัยหลักการ วิธีการ ข้อมูล เหตุผลมาประกอบ
จะทำให้การแสดงความคิดเห็นโต้แย้งมีเหตุมีผลน่าเชื่อถือมากขึ้น
|
แสดงความคิดเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
|
๙. ตีความและประเมินคุณค่า แนวคิดที่ได้จากงานเขียน อย่างหลากหลาย เพื่อนำไปใช้ แก้ปัญหาในชีวิต ( ONET 60 )
|
การอ่านตีความและประเมินคุณค่าแนวคิดที่ได้จากงานเขียนหลากหลาย
ทั้งด้านการใช้ภาษา วิธีการเขียน และข้อคิดในการดำรงชีวิต
จะทำให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และแก้ปัญหาในชีวิตได้
|
ตีความและประเมินคุณค่าที่ได้รับจากการอ่านและนำไปประยุกต์ใช้และแก้ปัญหาในชีวิตได้
|
๑๐.มีมารยาทในการอ่าน
หมายเหตุ
ตัวชี้วัดตัวนี้ให้จัด
กิจกรรมรวมกับตัวชี้วัดที่
๑ – ๙
|
ในการอ่านใดๆ
สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงคือต้องมีมารยาทในการอ่าน
เพื่อให้เกิดผลดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
|
อ่านอย่างมีมารยาทเป็นแบบอย่างและให้ข้อคิดแก่ผู้อื่นได้
|