ระดับของภาษา


ระดับภาษา

ลักษณะภาษาในระดับต่างๆ

          ภาษาที่ใช้ในระดับต่างๆ มีลักษณะแตกต่างกันดังนี้

๑.       ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารในวงการวิชาการ หรือวงการอาชีพเดียวกัน ผู้รับสารกับผู้ส่งสารมีความสัมพันธ์กันในด้านหน้าที่การงาน
สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับทางการ ได้แก่ งานเขียนทางวิชาการสาขาต่างๆ งานเขียนในแวดวงอาชีพเดียวกัน เอกสารของราชการ เช่น รายงานการประชุม จดหมายราชการ คำสั่งประกาศ การประชุมปรึกษาในวาระสำคัญ การเขียนข้อสอบอัตนัย การเป็นพิธีกรรายการที่มีสาระ

๒.     ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารกับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันวงการวิชาการหรือวงการอาชีพ สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับ
กึ่งทางการ ได้แก่ งานเขียนในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ บทบรรยายในนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร จดหมายกิจธุระ จดหมายธุรกิจ จดหมายส่วนตัวที่เขียนถึงบุคคลซึ่งไม่คุ้นเคยกัน การประชุมภายในหน่วยงาน การพูดโทรศัพท์กับบุคคลทั่วไป การเป็นพิธีกรรายการบันเทิง

8๓.     ภาษาระดับกันเองหรือระดับปาก   ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากเป็นพิเศษ เช่น เพื่อนสนิท ลักษณะภาษาอาจมีคำไม่สุภาพปะปนอยู่บ้าง สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับกันเอง เช่น การสนทนากับบุคคลที่มีความใกล้ชิดกันมาก การเขียนบทสนทนาในนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร การเขียนจดหมายติดต่อสื่อสารกับเพื่อนสนิท การเขียนพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์

 ตัวอย่าง

ภาษาที่เป็นทางการ

 

 

ภาษากึ่งทางการ

ภาษาปาก

ข้าพเจ้า  กระผม ดิฉัน

 

ผม  ฉัน  เรา

ผม  ฉัน  หนู 

บิดา    

 

คุณพ่อ 

พ่อ

มารดา

 

คุณแม่

แม่

โรงภาพยนตร์

 

โรงหนัง

โรงหนัง 

ใบอนุญาตขับรถยนต์

 

ใบขับขี่

ใบขับขี่

หนังสือรับรอง

 

ใบรับรอง

ใบรับรอง

ดวงตราไปรษณียากร     

 

แสตมป์ 

แสตมป์  

กรุงเทพมหานคร

 

กรุงเทพ ฯ

บางกอก

ศีรษะ  

 

หัว     

กบาล

ฌาปนกิจศพ                       

 

ปลงศพ

เผาศพ

ประทับตรา                       

 

ตีตรา 

ตีตรา  ปั๊มตรา

รับประทาน     

 

กิน  ยัด  แดก  ซัด

กิน  ยัด  แดก  ซัด

ดื่มสุรา 

 

ดื่มเหล้า

กินเหล้า  ถองเหล้า ซัดเหล้า

อย่างนั้น  อย่างนี้  อย่างไร

 

 

ยังงั้น  ยังงี้  ยังไง 

มาก     มากมาย

 

เยอะ  เยอะแยะ 

เยอะ  เยอะแยะ  ถมไป  ตึม  เพียบ

 ข้อสังเกต

คำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายคำกริยาหรือขยายวิเศษณ์ด้วยกัน ใช้มากในภาษาที่ไม่เป็นทางการ หรือ ระดับสนทนาและกันเอง ซึ่งบางครั้งก็ใช้ในระดับกึ่งแบบแผนหรือกึ่ง    ทางราชการ  แต่ไม่ใช้ในระดับภาษาที่เป็นแบบแผน หรือภาษาที่เป็นทางการเลย เช่น เปรี้ยวจี๊ด, เขียวอื๋อ, ขมปี๋, ดังเอี๊ยด, อ้วนฉุ, ยุ่งจัง

คำว่า  ครับ, ซิ, นะ, เถอะ, จ๊ะ ขา, นิดหน่อยๆ  ต่างๆนานา, จี๊ด, ปี๋  ใช้ในระดับที่ไม่เป็นทางการหรือในการสนทนากันเองเท่านั้น

ตัวอย่างการเปรียบเทียบการใช้ภาษาทั้ง  ๓ ระดับ

ข้อความที่ ๑

ภาษาปาก                      :     ผีสางข้าไม่กลัวอีกอย่างผีมันไม่หลอกคนในป่าช้า

ภาษาระดับกึ่งทางการ   :         ข้าไม่เคยกลัวผี  และอีกอย่างหนึ่งผีมันจะไม่หลอก

                                                คนในป่าช้า

ภาษาระดับทางการ       :         ข้าพเจ้าไม่เคยกลัวผี  และอีกประการหนึ่งข้าพเจ้า

เชื่อว่าผีย่อมไม่หลอกคนในป่าช้า

 ข้อความที่ ๒

ภาษาปาก                    :       กระทาชายนายนั้นเดินกะปลกกะเปลี้ยขึ้นมาบนโรงพัก

ภาษาระดับกึ่งทางการ    :         ชายคนนั้นเดินกะปลกกะเปลี้ยขึ้นมาบนโรงพัก

ภาษาระดับทางการ       :          ผู้ชายคนนั้นเดินขึ้นมาบนสถานีตำรวจด้วยกิริยา

                                       ของคนที่หมดแรง

ข้อความที่ ๓

ภาษาปาก                           : เผลอๆ จะสิ้นเดือนอีกแล้วซิเนี่ย  เดือนที่ ๙  ของ

ปี  ๒๒ กำลังจะบินจากไป  แหละเดือนที่ ๑๐ เก๊ากำลังจะบินจากไป แหละเดือนที่ ๑๐  เก๊าะกำลังจะคืบคลานเข้ามาถึงอีกแล้ว  เฮ้อ! เซ็งจริงจังเงินทองก็ไม่ค่อยจะรักกับเราเสียด้วยซี  โดยเฉพาะตอนปลายเดือนอย่างนี้

ภาษาระดับกึ่งทางการ   : อีกไม่กี่วันก็จะสิ้นเดือนอีกแล้ว เดือนที่ ๙ ของปี

.๒๕๒๒   กำลังจะสิ้นไป  และจะถึงเดือนที่ ๑๐ ในเวลาอีกไม่กี่วัน น่าเบื่อจริงที่เราไม่ค่อยจะมีเงินใช้  โดยเฉพาะตอนปลายเดือนเช่นนี้

ภาษาระดับทางการ                   :  ขณะนี้เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะสิ้นเดือนตุลาคม

.. ๒๕๒๒ แล้วข้าพเจ้ารูสึกเบื่อหน่ายมากเพราะข้าพเจ้าไม่ค่อยมีเงินสำหรับใช้สอยโดยเฉพาะตอนปลายเดือนเช่นนี้


ปัจจัยที่กำหนดระดับภาษา

        ๑. โอกาสและสถานที่  เช่น   ถ้าสื่อสารกับบุคคลกลุ่มใหญ่ในที่ประชุมก็จะใช้ภาษาระดับหนึ่ง ถ้าพูดกันในตลาดร้านค้าภาษาก็จะต่างระดับกันออกไป

        ๒. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล  เช่น บุคคลที่ไม่เคยรู้จัก  บุคคลที่เพิ่งรู้จัก บุคคล     ที่เป็นเพื่อนสนิท  เป็นปัจจัยให้ใช้ภาษาต่างระดับกัน  แต่อย่างไรก็ตามต้องยึดหลักพิจารณาโอกาสและสถานที่ด้วย

        ๓. ลักษณะของเนื้อหา  เช่น  เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว ไม่นำไปใช้กับภาษาแบบแผน หรือภาษาที่เป็นทางการ

        ๔. สื่อที่ใช้ในการส่งสาร  เช่น จดหมายปิดผนึกกับไปรษณียบัตร ระดับภาษาที่ใช้ต้องตรงกัน เมื่อพูดด้วยปากกับพูดด้วยเครื่องขยาย

เสียงหรือพูดทางวิทยุ ทางโทรทัศน์ ระดับภาษาที่ใช้ย่อมแตกต่างกัน


Comments