สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

สาระที่ ๔    หลักการใช้ภาษาไทย                          

มาตรฐาน  ท ๔.                    เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและ

                                        พลังของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

 

ตัวชี้วัด

ผู้เรียนรู้อะไร

ผู้เรียนทำอะไรได้

๑. จำแนกและใช้คำ    ภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย

( ONET 60 )

การจำแนกคำที่มาจากภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง จะทำให้สะกดคำเหล่านั้นได้และนำไปใช้ได้ตรงความหมาย เหมาะกับระดับของภาษา

จำแนกและใช้ภาษาต่างประเทศได้

๒. วิเคราะห์โครงสร้างประโยค

     ซับซ้อน

ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้าง ของประโยคจะทำให้สามารถวิเคราะห์ประโยคที่ซับซ้อนและสร้างประโยคที่สละสลวยสื่อความหมายได้ชัดเจนมากขึ้น

วิเคราะห์โครงสร้างของประโยคซับซ้อนได้

 

๓. วิเคราะห์ระดับภาษา

( ONET 60 )

ภาษาไทยมีการใช้ภาษาหลายระดับ ได้แก่ ระดับทางการกึ่งทางการ และไม่เป็นทางการการวิเคราะห์ระดับของการใช้ภาษา จะทำให้นักเรียนใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสม

วิเคราะห์ระดับภาษาได้


๔. ใช้คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ

( ONET 60 )

คำทับศัพท์ เป็นคำศัพท์ภาษาต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ มักใช้ในภาษาที่ไม่เป็นทางการ หรือใช้ในระดับทางการกรณีที่ยังไม่มีคำไทยบัญญัติไว้ ที่เรียกว่า ศัพท์บัญญัติ การเรียนรู้หลักการดังกล่าวจะทำให้สามารถนำคำทับศัพท์และ ศัพท์บัญญัติไปใช้ได้อย่างเหมาะสม

ใช้คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ

ได้เหมาะสมกับสถานการณ์

 

๕. อธิบายความหมาย คำศัพท์ทางวิชาการและวิชาชีพ

คำศัพท์ทางวิชาการ เป็นศัพท์เฉพาะของศาสตร์แขนงต่าง ๆส่วนคำศัพท์ทางวิชาชีพเป็นคำศัพท์ที่ใช้เฉพาะผู้อยู่ในวงวิชาชีพเดียวกัน ศึกษาคำศัพท์เหล่านี้ให้กว้างขวาง จะช่วยในการสื่อสาร และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

อธิบายความหมายคำศัพท์ทางวิชาการและวิชาชีพได้

 

๖. แต่งบทร้อยกรอง

( ONET 60 )

 

การแต่งบทร้อยกรอง ได้ถูกต้องตามหลักการ และมีความไพเราะนอกจากจะเป็นการแสดงความสามารถในการใช้ภาษาไทยแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆได้ เช่น  คำอวยพร บทอาเศียรวาท

แต่งโคลงสี่สุภาพได้