สาระที่ ๒ การเขียน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

สาระที่ ๒    การเขียน

มาตรฐาน ท ๒.    ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร  เขียนเรียงความ  ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ                 

ตัวชี้วัด

ผู้เรียนรู้อะไร

ผู้เรียนทำอะไรได้

 

. คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด

การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดเป็นการคัดลายมือที่มีรูปแบบหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนผู้เรียนต้องพัฒนาลายมือของตนให้ถูกรูปแบบสวยงามตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดตามรูปแบบตัวอักษรไทยได้

 

. เขียนบรรยายและพรรณนา

 ( ONET 60 )

การเขียนบรรยายเป็นการเขียนบอกเล่าข้อมูลหรือเรื่องราวส่วนการเขียนพรรณนาเป็นการเขียนที่แสดงถึงรายละเอียดและความคิดความรู้สึกของผู้เขียนที่มีต่อสิ่งนั้นๆผู้เขียนต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ที่ได้จากการอ่าน  การฟังและการดูมาเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราวอย่างสร้างสรรค์

เขียนบรรยายและพรรณนาได้

 การเขียนแสดงความคิดเห็นจากข่าวและเหตุการณ์สำคัญ

. เขียนเรียงความ

 ( ONET 60 )

การเขียนเรียงความเป็นการเรียบเรียงเรื่องราวตามวัตถุประสงค์อย่างมีหลักเกณฑ์ผู้เขียนจึงต้องเรียนรู้หลักเกณฑ์และฝึกปฏิบัติการเขียนอย่างม่ำเสมอเพื่อให้งานเขียนมีคุณภาพมากขึ้น

เขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์ได้

 


การเขียนเรียงความ ตอนที่ ๒


. เขียนย่อความ

 

การเขียนย่อความเป็นการสรุปสาระสำคัญของเรื่องราวจึงต้องรู้

ถึงหลักการ และวิธีการเขียน

ย่อความอย่างถูกต้อง

เขียนย่อความได้

 

. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า

 

การเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเป็นการเขียนรายงานที่ต้องอาศัยข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า นำมาวิเคราะห์เรียบเรียงอย่างเป็นระบบด้วยภาษาแบบแผน  มีรูปแบบและการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ชัดเจน

เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าและรายงานโครงงานได้

 

. เขียนจดหมายกิจธุระ

 ( ONET 60 )

การเขียนจดหมายกิจธุระเป็นการเขียนจดหมายที่มีรูปแบบกึ่งราชการใช้ในการติดต่อประสานงานให้เกิดประโยชน์กับตน  องค์กร หรือหน่วยงาน

เขียนจดหมายกิจธุระได้

 

. เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์   และแสดงความรู้ ความคิดเห็น  หรือโต้แย้งในเรื่องที่อ่าน  อย่างมีเหตุผล

การเขียนวิเคราะห์วิจารณ์และแสดงความรู้  ความคิดเห็นหรือโต้แย้งเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผลจะต้องอาศัยข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอ จึงจะทำให้งานเขียนมีคุณภาพ

เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความรู้ ความคิดเห็นหรือโต้แย้งในเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผล 

 

 

๘. มีมารยาทในการเขียน 

เขียนโดยใช้ถ้อยคำภาษาที่เหมาะสมมีการอ้างอิงที่มาของข้อมูลอย่างครบถ้วนถือว่ามีมารยาทในงานเขียน

เขียนอย่างมีมารยาท