โพสต์4 ก.ย. 2559 03:17โดยไอหยุ หมัดชูดชู
| สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย | การติดต่อสัมพันธ์กันทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทย ด้วยสาเหตุหลายประการ พอสรุปได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์กันทางเชื้อชาติและถิ่นที่อยู่อาศัยตามสภาพภูมิศาสตร์ | | ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อหรือใกล้เคียงกันกับมิตรประเทศกับประเทศต่าง ๆ หลายประเทศได้แก่ พม่า ลาว มาเลเซีย เขมร มอญ ญวน จึงทำให้คนไทยที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดนมีความเกี่ยวพันกับชนชาติต่าง ๆ โดยปริยาย มีการเดินทางข้ามแดนไปมาหาสู่ซึ่งกันและกัน มีการแต่งงานกันเป็นญาติกัน จึงเป็นสาเหตุสำคัญให้ภาษาของประเทศเหล่านั้นเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทย | | 2. ความสัมพันธ์กันทางด้านประวัติศาสตร์ | | ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีการอพยพโยกย้ายของคนไทยเข้ามาอยู่ในถิ่น ซึ่งชนชาติอื่นเคยอาศัยอยู่ก่อน หรือมีการทำศึกสงครามกับชนชาติอื่น มีการกวาดต้อนชนชาติอื่น เข้ามาเป็นเชลยศึก หรือชนชาติอื่นอพยพเข้ามาอยู่ ในแผ่นดินไทยด้วยเหตุผล ต่าง ๆ และอาจจะกลายเป็ นคนไทยในที่สุด ผลที่ตามมาก็คือคนเหล่านั้น ได้นำถ้อยคำภาษาเดิม ของตนเองมาใช้ปะปนกับ ภาษาไทย | | 3. ความสัมพันธ์กันทางด้านการค้า | | จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยมีการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้ากับชนชาติต่าง ๆ มาเป็นเวลาอันยาวนาน เช่น ชาวจีน ชาวโปรตุเกส ฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลันดา ตลอดถึงญี่ปุ่น ยิ่งปัจจุบันการค้าขายระหว่างประเทศมีความสำคัญมากขึ้น มีการใช้ภาษา-ต่างประเทศในวงการธุรกิจการค้ามากขึ้น คำภาษาต่างประเทศมีโอกาสเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยได้ตลอดเวลาไม่มีวันสิ้นสุด | | 4. ความสัมพันธ์ทางด้านศาสนา | | คนไทยมีเสรีภาพในการยอมรับนับถือศาสนามาเป็นเวลาช้านาน เมื่อยอมรับนับถือศาสนาใดก็ย่อมได้รับถ้อยคำภาษาที่ใช้ในคำสอน หรือคำเรียกชื่อต่าง ๆ ในทางศาสนาของศาสนานั้น ๆ มาปะปนอยู่ในภาษาไทยด้วย เช่น ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต ศาสนาพุทธใช้ภาษาบาลี ศาสนาอิสลามใช้ภาษาอาหรับ และศาสนาคริสต์ใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นภาษาต่าง ๆ ที่ใช้ ในทางศาสนาก็จะเข้ามาปะปนในภาษาไทยด้วย | | 5. ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมและประเพณี | | เมื่อชนชาติต่าง ๆ เข้ามาสัมพันธ์ติดต่อกับชนชาติไทย หรือเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศไทย ย่อมนำเอาวัฒนธรรมและประเพณีที่เคยยึดถือปฏิบัติอยู่ในสังคมเดิมของตนมาประพฤติปฏิบัติในสังคมไทย นาน ๆ เข้าถ้อยคำภาษาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและประเพณีเหล่านั้น ก็กลายมาเป็นถ้อยคำภาษาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น จนถึงปัจจุบันการหยิบยืมคำจากภาษาอื่นมาใช้ในการสื่อสารยังไม่มีวันสิ้นสุด ตราบใดที่เรายังติดต่อ สัมพันธ์ กับชาวต่างชาติ การหยิบยืมภาษาต่างประเทศมาใช้ในการสื่อสารจะต้องคงมีตลอดไป ภาษาไทยหยิบยืมภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร เข้ามาใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทั้งในส่วนของรูปคำและวิธีการสร้างคำใหม่จำนวนมากมาย เป็นเวลายาวนานจนคนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้สึกว่าเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลในการติดต่อสื่อสารจึงเป็นภาษา ต่างประเทศที่เข้ามามี อิทธิพลต่อคนไทยมากที่สุด
|
|
|
|
|