โพสต์4 ก.ย. 2559 03:15โดยไอหยุ หมัดชูดชู
4. ภาษาจีนในภาษาไทย | | ภาษาจีนมีรูปลักษณะภาษาเป็นภาษาคำโดด เช่นเดียวกับภาษาไทย ไม่มีเสียงควบกล้ำ มีเสียงสูงต่ำ มีการสร้างคำขึ้นมาใช้ใหม่ มีโครงสร้างประโยคเช่นเดียวกัน การเรียงลำดับคำเข้าประโยคก็เช่นเดียวกับภาษาไทย ต่างกันแต่ว่าภาษาจีนเอาคุณศัพท์ไว้หน้านาม เอากริยาวิเศษณ์ไว้หน้ากริยาและมีเงื่อนไขอื่น ๆ อีกและมีลักษณะนาม ประเทศจีนมีเนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาล ภาษาจีนจึงแตกต่างกันไปอย่างมาก จนกลายเป็นภาษาถิ่นต่าง ๆ ที่สำคัญคือ ภาษากวางตุ้ง ภาษาจีนแคะ ภาษาฮกเกี้ยน ภาษาแต้จิ๋ว ภาษาไหหลำ ภาษาเซียงไฮ้ และภาษานิงโปหรือเลี่ยงโผ และภาษาจีนกลาง ซึ่งเป็นภาษาราชการปัจจุบันนิยม เรียกว่า “ภาษาแมนดา-ริน” ไทยและจีนเป็นชนชาติที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง กันมาเป็นเวลาอันยาวนานมากตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ไทยมาถึงสมัยปัจจุบัน ถ้อยคำภาษาจีนจึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากมายจากหลายสาเหตุ ทั้งความสัมพันธ์ทางด้านถิ่นที่อยู่อาศัยตามสภาพภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางด้านเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม และประเพณี ความสัมพันธ์ทางด้านการค้า เป็นต้น เรายืมคำภาษาจีนมาใช้หลายลักษณะ เช่น ทับศัพท์ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป ใช้คำไทยแปลคำจีน ใช้คำไทยประสมหรือซ้อนกับคำจีนเป็นต้น
ตัวอย่างภาษาจีนในภาษาไทย | ก๊ก | กงสี | กงเต๊ก | กวยจั๊บ | กังฉิน | ก๋วยเตี๋ยว | กุ๊ย | กวางตุ้ง | กุยช่าย | กาน้า | กุยเฮง | กะหล่ำ | เก๊ | เกี้ยมไฉ่ | เกาเหลา | เกี้ยว | ขงจื้อ | ขึ้นฉ่าย | จับยี่กี | โจ๊ก | จับฉ่าย | เจ | เจ๊า | เฉาก๊วย | ซวย | เซียน | ซาลาเปา | เซียมซี | ซินแส | แซ่ | เซ้ง | แซยิด | ตงฉิน | เต้าเจี้ยว | ตังเก | เต้าส่วน | ตั๋ว | เต้าหู้ยี้ | ตั้วโผ | เต้าฮวย | ไต๋ | ไต้ก๋ง | ถัว | ทู่ซี้ | บ๊วย | บะหมี่ | แบไต๋ | ปุ้งกี๋ | เปาะเปี๊ยะ | แป๊ะซะ | โพย | ยี่ห้อ | เย็นตาโฟ | ลิ้นจี่ | โสหุ้ย | สาลี่ | ห้าง | หุ้น | อั้งยี่ | อั้งโล่ | เอี๊ยม | ฮวงซุ้ย | | |
| |
|
|