โพสต์4 ก.ย. 2559 03:15โดยไอหยุ หมัดชูดชู
3. ภาษาเขมรในภาษาไทย | | ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดด จัดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็น คำพยางค์เดียวและเป็นคำโดด ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย ไทยกับเขมรมีความสัมพันธ ์กันมาเป็นเวลาอันยาวนาน จึงทำให้มีการหยิบยืมถ้อยคำภาษา ของกันและกัน ไทยยืมคำภาษาเขมรมาใช้เป็นจำนวนมาก ภาษาเขมรนอกจากจะใช้กันในประเทศกัมพูชาแล้ว ยังใช้กันในบรรดาคนไทยเชื้อสายเขมรทางจังหวัดต่าง ๆ บางจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วย คำเขมาเข้าสู่ภาษาไทยโดยทางการเมือง ทางวัฒนธรรมและทางภูมิศาสตร์ เรายืมคำเขมรมาใช้โดยการทับศัพท์ ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป และเปลี่ยนเสียงเปลี่ยนความหมาย ตัวอย่างภาษาเขมรในภาษาไทย | กระชับ | กระโดง | กระเดียด | กระบอง | กระบือ | กระท่อม | กระโถน | กระพัง, ตระพัง, ตะพัง | กระเพาะ | กระแส | กังวล | กำจัด | กำเดา | รัญจวน | ลออ | สกัด | สนอง | สนุก | สดับ | สบง | สังกัด | สไบ | สำราญ | สรร | สำโรง | แสวง | แสดง | กำแพง | กำลัง | ขนาน | ขจี | โขมด | จัด | เฉพาะ | ฉบับ | เชลย | โดย | ทรวง | ถนน | บายศรี | ประกายพรึก | ปรับ | ประจาน | โปรด | เผด็จ | ผจญ, ผจัญ | เผอิญ | เผชิญ | | | | |
|
|
|