โพสต์4 ก.ย. 2559 03:17โดยไอหยุ หมัดชูดชู
| สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย | การติดต่อสัมพันธ์กันทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทย ด้วยสาเหตุหลายประการ พอสรุปได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์กันทางเชื้อชาติและถิ่นที่อยู่อาศัยตามสภาพภูมิศาสตร์ | | ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อหรือใกล้เคียงกันกับมิตรประเทศกับประเทศต่าง ๆ หลายประเทศได้แก่ พม่า ลาว มาเลเซีย เขมร มอญ ญวน จึงทำให้คนไทยที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดนมีความเกี่ยวพันกับชนชาติต่าง ๆ โดยปริยาย มีการเดินทางข้ามแดนไปมาหาสู่ซึ่งกันและกัน มีการแต่งงานกันเป็นญาติกัน จึงเป็นสาเหตุสำคัญให้ภาษาของประเทศเหล่านั้นเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทย | | 2. ความสัมพันธ์กันทางด้านประวัติศาสตร์ | | ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีการอพยพโยกย้ายของคนไทยเข้ามาอยู่ในถิ่น ซึ่งชนชาติอื่นเคยอาศัยอยู่ก่อน หรือมีการทำศึกสงครามกับชนชาติอื่น มีการกวาดต้อนชนชาติอื่น เข้ามาเป็นเชลยศึก หรือชนชาติอื่นอพยพเข้ามาอยู่ ในแผ่นดินไทยด้วยเหตุผล ต่าง ๆ และอาจจะกลายเป็ นคนไทยในที่สุด ผลที่ตามมาก็คือคนเหล่านั้น ได้นำถ้อยคำภาษาเดิม ของตนเองมาใช้ปะปนกับ ภาษาไทย | | 3. ความสัมพันธ์กันทางด้านการค้า | | จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยมีการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้ากับชนชาติต่าง ๆ มาเป็นเวลาอันยาวนาน เช่น ชาวจีน ชาวโปรตุเกส ฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลันดา ตลอดถึงญี่ปุ่น ยิ่งปัจจุบันการค้าขายระหว่างประเทศมีความสำคัญมากขึ้น มีการใช้ภาษา-ต่างประเทศในวงการธุรกิจการค้ามากขึ้น คำภาษาต่างประเทศมีโอกาสเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยได้ตลอดเวลาไม่มีวันสิ้นสุด | | 4. ความสัมพันธ์ทางด้านศาสนา | | คนไทยมีเสรีภาพในการยอมรับนับถือศาสนามาเป็นเวลาช้านาน เมื่อยอมรับนับถือศาสนาใดก็ย่อมได้รับถ้อยคำภาษาที่ใช้ในคำสอน หรือคำเรียกชื่อต่าง ๆ ในทางศาสนาของศาสนานั้น ๆ มาปะปนอยู่ในภาษาไทยด้วย เช่น ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต ศาสนาพุทธใช้ภาษาบาลี ศาสนาอิสลามใช้ภาษาอาหรับ และศาสนาคริสต์ใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นภาษาต่าง ๆ ที่ใช้ ในทางศาสนาก็จะเข้ามาปะปนในภาษาไทยด้วย | | 5. ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมและประเพณี | | เมื่อชนชาติต่าง ๆ เข้ามาสัมพันธ์ติดต่อกับชนชาติไทย หรือเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศไทย ย่อมนำเอาวัฒนธรรมและประเพณีที่เคยยึดถือปฏิบัติอยู่ในสังคมเดิมของตนมาประพฤติปฏิบัติในสังคมไทย นาน ๆ เข้าถ้อยคำภาษาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและประเพณีเหล่านั้น ก็กลายมาเป็นถ้อยคำภาษาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น จนถึงปัจจุบันการหยิบยืมคำจากภาษาอื่นมาใช้ในการสื่อสารยังไม่มีวันสิ้นสุด ตราบใดที่เรายังติดต่อ สัมพันธ์ กับชาวต่างชาติ การหยิบยืมภาษาต่างประเทศมาใช้ในการสื่อสารจะต้องคงมีตลอดไป ภาษาไทยหยิบยืมภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร เข้ามาใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทั้งในส่วนของรูปคำและวิธีการสร้างคำใหม่จำนวนมากมาย เป็นเวลายาวนานจนคนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้สึกว่าเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลในการติดต่อสื่อสารจึงเป็นภาษา ต่างประเทศที่เข้ามามี อิทธิพลต่อคนไทยมากที่สุด
|
|
|
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:16โดยไอหยุ หมัดชูดชู
| | ภาษาบาลีเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน รูปลักษณะภาษาเป็นภาษามีวิภัตติปัจจัย คือจะต้องเปลี่ยนรูปคำตามเพศ พจน์ หรือกาล ภาษาบาลีมีถิ่นกำเนิดในแคว้นมคธ ประเทศอินเดีย บางทีจึงเรียกว่าภาษามคธ เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเพราะสาเหตุจากการยอมรับนับถือศาสนาพุทธของคนไทยเป็นสำคัญ ตัวอย่างคำภาษาบาลีในภาษาไทย | บาป | บุญ | ปัญญา | พยากรณ์ | ปฏิกิริยา | ปฏิกูล | พยาบาท | พายุ | ปฏิบัติ | ปัจจัย | พิพาท | ภาคี | มงคล | มติ | มิจฉาชีพ | รถ | รส | รังสี | รูป | ลัทธิ | ลาภ | โลก | โลหิต | วัฏสงสาร | วาจา | วิชา | สงสัย | สติ | สนทนา | สบาย | สังเขป | สันติ | สาหัส | สุข | สุสาน | หทัย | เหมันต์ | อคติ | อดีต | อนุมัติ | อนุสรณ์ | อเนจอนาถ | อวสาน | |
| |
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:15โดยไอหยุ หมัดชูดชู
| | ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน รูปลักษณะภาษาเป็นภาษา มีวิภัตดิปัจจัยเช่นเดียวกับภาษาบาลี ชาวอินเดียถือว่าภาษาสันสกฤตเป็นภาษาชั้นสูง คัมภีร์ และบทสวด ต่าง ๆ มักจะจารึกเป็นภาษาสันสกฤต ภาษาสันสกฤตเข้ามาปะปนอยู่ใน ภาษาไทยเพราะคนไทย เคยยอมรับนับถือศาสนาพราหมณ์ ซึ่งบันทึกคำสอนด้วย ภาษาสันสกฤตมาก่อน แม้จะยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแล้วก็ตาม แต่คนไทยก็ยังยึดถือปฏิบัติในพิธีกรรมบางอย่าง ของศาสนาพราหมณ์มาจนถึงปัจจุบัน คนไทยจึงศึกษาภาษาบาลี และภาษาสันสกฤตควบคู่กันไป ตัวอย่างคำภาษาสันสกฤตในภาษาไทย | กัลป์ | กุศล | กัลปาวสาน | โกรธ | คณาจารย์ | เคารพ | เคหสถาน | โคตร | โฆษก | โฆษณา | จรรยา | โจรกรรม | ชัชวาล | ตรี, ไตร | ดนตรี | ทรัพย์ | ทักษิณ | โทษ | เทพบุตร | นาฏศิลป์ | นามธรรม | นิรภัย | นิเทศ | บรรยาย | บริบูรณ์ | บัตร | บริษัท | บุตร | บุตรี | บูรพา | บุรุษ | ปฏิปักษ์ | ปทัสถาน | ประกาศ | ประการ | ประจักษ์ | ประณีต | ประดิษฐาน | ประดิษฐ์ | ประเทศ | ประมาณ | ปรากฏ | ประโยชน์ | ปราชญ์ | ปรารถนา | ปรึกษา | ปราศรัย | พยายาม | พรรณนา | พิสดาร | พรหมลิขิต | แพทย์ | พาณิชย์ | พิพากษา | ภิกษุ | มนุษย์ | มรรยาท | ไมตรี | รักษา | ราษฎร | ฤกษ์ | ฤทธิ์ | นักบวช | วิเคราะห์ | วิทยา | วิเศษ | วินาศ | ศักดา | ศัตรู | ศาสนา | ศัพท์ | ศิลปิน | ศึกษา | เศรษฐี | สงเคราะห์ | สตรี | สนเท่ห์ | สวรรค์ | สรรพคุณ | สวัสดิ์, สวัสดี | สังหาร | สัมฤทธิ์ | สัปดาห์ | สาธิต | แสนยานุภาพ | หรรษา | อธิษฐาน | อนุเคราะห์ |
| |
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:15โดยไอหยุ หมัดชูดชู
3. ภาษาเขมรในภาษาไทย | | ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดด จัดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็น คำพยางค์เดียวและเป็นคำโดด ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย ไทยกับเขมรมีความสัมพันธ ์กันมาเป็นเวลาอันยาวนาน จึงทำให้มีการหยิบยืมถ้อยคำภาษา ของกันและกัน ไทยยืมคำภาษาเขมรมาใช้เป็นจำนวนมาก ภาษาเขมรนอกจากจะใช้กันในประเทศกัมพูชาแล้ว ยังใช้กันในบรรดาคนไทยเชื้อสายเขมรทางจังหวัดต่าง ๆ บางจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วย คำเขมาเข้าสู่ภาษาไทยโดยทางการเมือง ทางวัฒนธรรมและทางภูมิศาสตร์ เรายืมคำเขมรมาใช้โดยการทับศัพท์ ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป และเปลี่ยนเสียงเปลี่ยนความหมาย ตัวอย่างภาษาเขมรในภาษาไทย | กระชับ | กระโดง | กระเดียด | กระบอง | กระบือ | กระท่อม | กระโถน | กระพัง, ตระพัง, ตะพัง | กระเพาะ | กระแส | กังวล | กำจัด | กำเดา | รัญจวน | ลออ | สกัด | สนอง | สนุก | สดับ | สบง | สังกัด | สไบ | สำราญ | สรร | สำโรง | แสวง | แสดง | กำแพง | กำลัง | ขนาน | ขจี | โขมด | จัด | เฉพาะ | ฉบับ | เชลย | โดย | ทรวง | ถนน | บายศรี | ประกายพรึก | ปรับ | ประจาน | โปรด | เผด็จ | ผจญ, ผจัญ | เผอิญ | เผชิญ | | | | |
|
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:15โดยไอหยุ หมัดชูดชู
4. ภาษาจีนในภาษาไทย | | ภาษาจีนมีรูปลักษณะภาษาเป็นภาษาคำโดด เช่นเดียวกับภาษาไทย ไม่มีเสียงควบกล้ำ มีเสียงสูงต่ำ มีการสร้างคำขึ้นมาใช้ใหม่ มีโครงสร้างประโยคเช่นเดียวกัน การเรียงลำดับคำเข้าประโยคก็เช่นเดียวกับภาษาไทย ต่างกันแต่ว่าภาษาจีนเอาคุณศัพท์ไว้หน้านาม เอากริยาวิเศษณ์ไว้หน้ากริยาและมีเงื่อนไขอื่น ๆ อีกและมีลักษณะนาม ประเทศจีนมีเนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาล ภาษาจีนจึงแตกต่างกันไปอย่างมาก จนกลายเป็นภาษาถิ่นต่าง ๆ ที่สำคัญคือ ภาษากวางตุ้ง ภาษาจีนแคะ ภาษาฮกเกี้ยน ภาษาแต้จิ๋ว ภาษาไหหลำ ภาษาเซียงไฮ้ และภาษานิงโปหรือเลี่ยงโผ และภาษาจีนกลาง ซึ่งเป็นภาษาราชการปัจจุบันนิยม เรียกว่า “ภาษาแมนดา-ริน” ไทยและจีนเป็นชนชาติที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง กันมาเป็นเวลาอันยาวนานมากตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ไทยมาถึงสมัยปัจจุบัน ถ้อยคำภาษาจีนจึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากมายจากหลายสาเหตุ ทั้งความสัมพันธ์ทางด้านถิ่นที่อยู่อาศัยตามสภาพภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางด้านเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม และประเพณี ความสัมพันธ์ทางด้านการค้า เป็นต้น เรายืมคำภาษาจีนมาใช้หลายลักษณะ เช่น ทับศัพท์ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป ใช้คำไทยแปลคำจีน ใช้คำไทยประสมหรือซ้อนกับคำจีนเป็นต้น
ตัวอย่างภาษาจีนในภาษาไทย | ก๊ก | กงสี | กงเต๊ก | กวยจั๊บ | กังฉิน | ก๋วยเตี๋ยว | กุ๊ย | กวางตุ้ง | กุยช่าย | กาน้า | กุยเฮง | กะหล่ำ | เก๊ | เกี้ยมไฉ่ | เกาเหลา | เกี้ยว | ขงจื้อ | ขึ้นฉ่าย | จับยี่กี | โจ๊ก | จับฉ่าย | เจ | เจ๊า | เฉาก๊วย | ซวย | เซียน | ซาลาเปา | เซียมซี | ซินแส | แซ่ | เซ้ง | แซยิด | ตงฉิน | เต้าเจี้ยว | ตังเก | เต้าส่วน | ตั๋ว | เต้าหู้ยี้ | ตั้วโผ | เต้าฮวย | ไต๋ | ไต้ก๋ง | ถัว | ทู่ซี้ | บ๊วย | บะหมี่ | แบไต๋ | ปุ้งกี๋ | เปาะเปี๊ยะ | แป๊ะซะ | โพย | ยี่ห้อ | เย็นตาโฟ | ลิ้นจี่ | โสหุ้ย | สาลี่ | ห้าง | หุ้น | อั้งยี่ | อั้งโล่ | เอี๊ยม | ฮวงซุ้ย | | |
| |
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:14โดยไอหยุ หมัดชูดชู
| | ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์ ปัจจุบันเรียกว่า ภาษามาเลเซีย จัดเป็นภาษาคำติดต่อ (Agglutinative Language) อยู่ในตระกูลภาษาชวา-มลายู มีวิธีการสร้างคำใหม่โดยวิธีเอาพยางค์มาต่อเติมคำทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คำในภาษามลายูส่วนใหญ่จะมีสองพยางค์และสามพยางค์ มาเลเซียกับไทยเป็นประเทศ ที่มีเขตแดนติดต่อกัน จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมา เป็นเวลานาน ภาษามาลายูเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากพอสมควร โดยเฉพาะในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล ยังคงใช้ภาษามลายูสื่อสารในชีวิต ประจำวันอยู่เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างคำภาษามลายูในภาษาไทย | กรง | กระดังงา | กระจง | กะพง | กระจูด | กะละปังหา | กระแชง | กะลาสี | กะลุมพี | กำยาน | กำปั่น | กุญแจ | จับปิ้ง | จำปาดะ | ตลับ | ทุเรียน | บูดู | ปาเต๊ะ | มังคุด | สละ | สลัก | สลาตัน | สลัด | สุจหนี่ | โสร่ง | หนัง | | |
| | |
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:14โดยไอหยุ หมัดชูดชู
| ภาษาชวา ปัจจุบันเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาคำติดต่อ อยู่ในตระกูลเดียวกับภาษามลายู ภาษาชวาที่ไทยยืมมาใช้ส่วนมาก เป็นภาษาเขียน ซึ่งรับมาจากวรรณคดี เรื่อง อิเหนา เป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษาเหล่านี้ใช้สื่อสารในวรรณคดี และในบทร้อยกรองต่าง ๆ มากกว่าคำที่นำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างคำภาษาชวาในภาษาไทย | กระจับปี่ | การะบุหนิง | กระยาหงัน | กิดาหยัน | จินดาหนา | จินดาหรา | ซ่าโบะ | ซ่าหริ่ม | ดะหมัง | ดาหงัน | ดาลัด | ติกาหลัง | ตุนาหงัน | นากาสาหรี | บายสุหรี | บุษบามินตรา | บุหงัน | บุหงารำไป | บุหงาประหงัน | บุหรง | บุหลัน | ปะตาระกาหลา | ปะตาปา | ปะหนัน | ปั้นเหน่ง | ปาตี | พันตุ | มะงุมมะงาหลา | มะตาหะรี | มิรันตี | มาลาตี | ยาหยี | ยิหวา | ระตู | ระเด่น | วิรงรอง, วิรังรอง | สะการะ | สะตาหมัน | สะการะตาหรา | หวันยิหวา | อสัญแดหวา | อังกะลุง | | | | | |
|
|
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:13โดยไอหยุ หมัดชูดชู
| | ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีรูปลักษณะภาษาเป็นภาษามีวิภัตติปัจจัย เช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เรียบง่ายขึ้น มีโครงสร้างประโยคคล้ายภาษาไทย มีระบบเสียงต่างกับภาษาไทยบ้าง ในขณะ เดียวกันก็มีลักษณะ บางประการเหมือนภาษาคำโดด และภาษาคำติดต่อปนอยู่ เมื่อภาษาอังกฤษ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เรียบง่ายขึ้น ภาษาอังกฤษจึงได้รับความนิยมใช้เป็นภาษา เพื่อการสื่อสารมากที่สุด มีประเทศต่าง ๆ ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการมากมาย ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น ดังนั้นภาษาอังกฤษ จึงเข้ามามีบทบาทต่อภาษาไทยมาก คนไทยบางคนนิยมพูดภาษาไทยปนฝรั่งกันอย่างแพร่หลาย วัฒนธรรมฝรั่งก็เข้ามาปะปนในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น ค่านิยมของสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ภาษาไทยก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เรายืมคำภาษาอังกฤษมาใช้ โดยการ ทับศัพท์ ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป ใช้คำไทยแปล ใช้คำสันสกฤตแปล ใช้คำบาลีสันสกฤตหรือคำอังกฤษซ้อนหรือประสมกับคำไทย และเปลี่ยนความหมาย (ทองสุก เกตุโรจน์, 2551, หน้า 108)
การยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้สื่อสารในภาษาไทย วิธีการยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้สื่อสารในภาษาไทยโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ
1. การแปลศัพท์ การยืมคำภาษาอังกฤษโดยวิธีการแปลศัพท์ หมายถึง การยืมคำที่เราไม่เคยมีหรือไม่เคยรู้จัก หรือการกล่าวถึงความคิดหรือนามธรรม ซึ่งไม่ใช่ความคิดหรือนามธรรมที่เรานึกคิดมาก่อน (ปราณี กุลละวณิชย์ และอื่น ๆ, 2535, หน้า 67) การยืมคำโดยวิธีการนี้จะต้องใช้วิธีการคิดแปลเป็นคำภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ แล้วนำคำนั้นมาใช้สื่อสารในภาษาไทยต่อไป ดังตัวอย่างเช่น คำภาษาอังกฤษ | คำภาษาไทย | tea spoon | ช้อนชา | table spoon | ช้อนโต๊ะ | electricity | ไฟฟ้า | electric fan | พัดลม | airplane | เครื่องบิน | typewriter | เครื่องพิมพ์ดีด | war ship | เรือรบ | blackboard | กระดานดำ | black market | ตลาดมืด | short story | เรื่องสั้น | middle-man | คนกลาง | dry cleaning | ซักแห้ง | horse power | แรงม้า | honeymoon | น้ำผึ้งพระจันทร์ | loan word | คำยืม | handbook | หนังสือคู่มือ | blacklist | บัญชีดำ |
2. การบัญญัติศัพท์ การบัญญัติศัพท์เป็นวิธีการยืมคำ โดยรับเอาเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาสร้างคำขึ้นใหม่ ซึ่งมีเสียงแตกต่างจากคำในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการจะใช้วิธีการนี้มาก ผู้ที่ทำหน้าที่ในการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้ มักจะเป็นนักวิชาการสาขาต่าง ๆ หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยขึ้น ใช้แทนคำยืมจากภาษาต่างประเทศโดยตรง คือ ราชบัณฑิตยสถาน แต่ก็มีบางคำที่นักวิชาการแต่ละคนหรือแต่ละหน่วยงานบัญญัติศัพท์ภาษาไทยมาใช้แทนคำภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน การยืมคำจากภาษาอังกฤษมาสร้างเป็นคำใหม่ เพื่อใช้สื่อสาร โดยวิธีการบัญญัติศัพท์ มีมากมาย ดังตัวอย่าง เช่น คำภาษาอังกฤษ | ศัพท์บัญญัติ | telegraph | โทรเลข | telephone | โทรศัพท์ | telescope | โทรทรรศน์ | television | โทรทัศน์ | teletype | โทรพิมพ์ | telecommunication | โทรคมนาคม | ecology | นิเวศวิทยา | pedology | ปฐพีวิทยา | reform | ปฏิรูป | globalization | โลกาภิวัตน์ | federal state | สหพันธรัฐ |
3. การทับศัพท์ การทับศัพท์เป็นวิธีการยืมจากภาษาหนึ่ง มาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยการถ่ายเสียง และถอดอักษร การยืมคำภาษาอังกฤษ โดยวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และปรากฏเด่นชัดที่สุดว่าเป็นคำยืมจากภาษาอังกฤษ คำยืมจากภาษาอังกฤษโดยวิธีการทับศัพท์มีมากมาย คำบางคำราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์เป็นคำไทยแล้ว แต่คนไทยนิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า คำทับศัพท์บางคำจึงคุ้นหูผู้รับสารมากกว่าศัพท์บัญญัติ คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้สื่อสารโดยทั่วไป มีตัวอย่างดัง เช่น คำภาษาอังกฤษ | คำทับศัพท์ | graph | กราฟ | captain | กัปตัน | clinic | คลินิก | quota | โควตา | chimpanzee | ชิมแปนซี | draft | ดราฟต์ | dinosaur | ไดโนเสาร์ | transistor | ทรานซิสเตอร์ | technology | เทคโนโลยี | nuclear | นิวเคลียร์ | bungalow | บังกะโล | plaster | ปลาสเตอร์ | protein | โปรตีน | physics | ฟิสิกส์ | cock | ก๊อก | gauze | กอซ | copy | ก๊อบปี้ | golf | กอล์ฟ | carat | กะรัต | captain | กัปตัน | gas | ก๊าซ, แก๊ส | card | การ์ด | cartoon | การ์ตูน | guitar | กีตาร์ | cook | กุ๊ก | game | เกม |
|
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:12โดยไอหยุ หมัดชูดชู
ภาษาอื่น ๆ ในภาษาไทย นอกจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร ภาษาจีน ภาษามลายู ภาษาชวา และภาษาอังกฤษ ดังกล่าวแล้ว ยังมีถ้อยคำภาษาอื่น ๆ เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยด้วยสาเหตุต่าง ๆ อีกจำนวนหนึ่ง และเราได้นำถ้อยคำภาษาเหล่านั้นมาใช้สื่อสารกันโดยทั่วไป ดังตัวอย่างต่อไปนี้ | | ภาษา | คำ | ฝรั่งเศส | กงสุล กรัม กาเฟอีน กาสิโน กิโยตีน กิโลกรัม กิโลเมตร กิโลลิตร ครัวซองต์ คูปอง ชีฟอง ปาร์เกต์ | ทมิฬ | กระสาย กะละออม กะหรี่ กะไหล่ กานพลู กำมะหยี่ เครา จงกลนี เจียระไน ตรีปวาย ตรียัมปวาย | ญี่ปุ่น | กิโมโน เกอิชา คาราเต้ ชินโต ซากุระ ซามูไร ซูโม เซน ปิยาม่า ยูโด สาเก สุกียากี้ | เปอร์เซีย | กุหลาบ คาราวาน ตรา ตราชู ตาด บัดกรี บัดกรี ปั้นหยา ราชาวดี สรั่ง สุหร่าย วิลาด, วิลาศ องุ่น | อาหรับ | การบูร มรสุม มัสยิด มุสลิม | โปรตุเกส | ปัง เลหลัง สบู่ | พม่า | กะปิ | มอญ | พลาย |
|
|
|
|
|
|
|