โพสต์4 ก.ย. 2559 03:33โดยไอหยุ หมัดชูดชู
คําราชาศัพท์
คําราชาศัพท์ รักจังดอทคอมได้รวบรวม ความหมาย วิธีการใช้ รวมทั้งที่มา และ คำราชาศัพท์หมวดต่างๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น หมวดเครื่องใช้ หมวดร่างกาย หมวดเครือญาติ หมวดอากัปกิริยา รวมทั้งหมวดอื่นๆ มาไว้ให้ทุกท่านศึกษาอย่างแจ่มแจ้ง หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ทุกท่าน คําราชาศัพท์ ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์แต่ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ซึ่งผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยมี ดังนี้ - พระมหากษัตริย์
- พระบรมวงศานุวงศ์
- พระภิกษุ
- ขุนนางข้าราชการ
- สุภาพชน
ที่มาของคำราชาศัพท์คำราชาศัพท์ นั้น มีที่มาอยู่ 2 อย่าง คือ - รับมาจากภาษาอื่น ภาษาเขมร เช่น โปรด เขนย เสวย เสด็จ เป็นต้น ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น อาพาธ เนตร หัตถ์ โอรส เป็นต้น
- การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ลูกหลวงซับพระพักตร์ ตั้งเครื่อง เป็นต้น
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:05โดยไอหยุ หมัดชูดชู
คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้
เครื่องใช้ | คำราชาศัพท์ | เครื่องใช้ | คำราชาศัพท์ | เสื้อ
รองท้า
ของเสวย
ที่นอน
ม่าน, มุ้ง
ถาดน้ำชา
คนโทน้ำ
ผ้าอาบน้ำ
ปืน
เข็มขัด
ประตู
เตียงนอน
ผ้าเช็ดตัว | ฉลองพระองค์
ฉลองพระบาท
เครื่อง
พระยี่ภู่
พระวิสูตร พระสูตร
ถาดพระสุธารส
พระสุวรรณภิงคาร
พระภูษาชุบสรง
พระแสงปืน
รัดพระองค์ , ผ้าชุบสรง , ผ้าสรง พระปั้นเหน่ง
พระทวาร
พระแท่นบรรทม
ซับพระองค์ | ผ้าเช็ดหน้า
กระจกส่อง
ข้าว
น้ำกิน
ตุ้มหู
ช้อน
ช้อนส้อม
ปิ่น
ไม้เท้า
หมาก
น้ำชา
เหล้า
กางเกง | ซับพระพักตร์
พระฉาย
พระกระยาเสวย( พระมหากษัตริย์ )
พระสุธารส
พระกุณฑลพาน
ฉลองพระหัตถ์
ฉลองพระหัตถ์ส้อม
พระจุฑามณี
ธารพระกร
พานพระศรี
พระสุธารสชา
น้ำจัณฑ์
พระสนับเพลา พระที่ (ราชวงศ์) |
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:05โดยไอหยุ หมัดชูดชู
คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย
ร่างกาย -- คำราชาศัพท์ | ร่างกาย -- คำราชาศัพท์ | ผม -- พระเกศา ไหปลาร้า -- พระรากขวัญ หน้าผาก -- พระนลาฎ ท้อง -- พระอุทร หลัง -- พระขนอง นิ้วมือ -- พระองคุลี บ่า -- พระอังสะ จุก -- พระโมฬี นม -- พระถัน, พระเต้า นิ้วชี้ -- พระดรรชนี จมูก -- พระนาสิก ฟัน -- พระทนต์ อก -- พระอุระ, พระทรวง หู -- พระกรรณ เอว -- บั้นพระองค์, พระกฤษฎี ลิ้น -- พระชิวหา ผิวหนัง -- พระฉวี ข้อเท้า -- ข้อพระบาท ปอด -- พระปับผาสะ ปาก -- พระโอษฐ์ คาง -- พระหนุ รักแร้ -- พระกัจฉะ ดวงหน้า -- พระพักตร์ ผิวหน้า -- พระราศี | ลิ้นไก่ -- มูลพระชิวหา ไรฟัน -- ไรพระทนต์ ตะโพก -- พระโสณี แข้ง -- พระชงฆ์ นิ้วก้อย -- พระกนิษฐา คอ -- พระศอ เนื้อ -- พระมังสา เหงื่อ -- พระเสโท ปัสสาวะ -- พระบังคนเบา สะดือ -- พระนาภี อุจจาระ -- พระบังคนหนัก ขน -- พระโลมา เถ้ากระดูก -- พระอังคาร น้ำลาย -- พระเขฬะ ข้อมือ -- ข้อพระหัตถ์ คิ้ว -- พระขนง น้ำตา -- น้ำพระเนตร, ต้นขา -- พระอุรุ พระอัสสุชล หัวเข่า -- พระชานุ ต้นแขน -- พระพาหุ ขนระหว่างคิ้ว -- พระอุณาโลม เงา -- พระฉายา จอนหู -- พระกรรเจียก
|
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:05โดยไอหยุ หมัดชูดชู
คําราชาศัพท์หมวดเครือญาติ ราชตระกูล คำศัพท์ | คำราชาศัพท์ | คำศัพท์ | คำราชาศัพท์ | พ่อ | พระชนก พระบิดา | แม่ | พระชนนี,พระมารดา | ปู่, ตา | พระอัยกา, พระอัยกี | ย่า, ยาย | พระอัยยิกา | ลุง | พระปิตุลา | ป้า | พระปิตุจฉา | พี่ชาย | พระเชษฐา | พี่สาว | พระเชษฐภคินี | น้องชาย | พระอนุชา | ลูกสะใภ้ | พระสุณิสา | พ่อผัว, พ่อตา | พระสัสสุระ | พี่เขย, น้องเขย | พระเทวัน | ผัว | พระสวามี | ลูกเขย | พระชามาดา
|
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:04โดยไอหยุ หมัดชูดชู
คําราชาศัพท์หมวดคำกิริยา คำศัพท์ | คำราชาศัพท์ | คำศัพท์ | คำราชาศัพท์ | ถาม | พระราชปุจฉา | ดู | ทอดพระเนตร | ทักทายปราศรัย | พระราชปฏิสันถาร | ให้ | พระราชทาน | ไปเที่ยว | เสด็จประพาส | อยากได้ | ต้องพระราชประสงค์ | ทาเครื่องหอม | ทรงพระสำอาง | เขียนจดหมาย | พระราชหัตถเลขา | ไหว้ | ถวายบังคม | แต่งตัว | ทรงเครื่อง | อาบน้ำ | สรงน้ำ | มีครรภ์ | ทรงพระครรภ์ | ตัดสิน | พระบรมราชวินิจฉัย | หัวเราะ | ทรงพระสรวล | นอน | บรรทม | รับประทาน | เสวย | นั่ง | ประทับ | ป่วย | ประชวร | ไป | เสด็จ | ชอบ | โปรด
|
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:04โดยไอหยุ หมัดชูดชู
คําราชาศัพท์หมวดสรรพนาม
คำที่ใช้แทน | คำราชาศัพท์ | ใช้กับ | แทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ 1) | ข้าพระพุทธเจ้า กระผม, ดิฉัน | พระมหากษัตริย์ ผู้ใหญ่, พระสงฆ์ | แทนชื่อที่พูดด้วย (บุรุษที่ 2) | ใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท ใต้ฝ่าละอองพระบาท | พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี พระบรมราชนนี พระบรมโอสรสาธิราช พระบรมราชกุมารี | แทนชื่อที่พูดด้วย | ฝ่าพระบาท | เจ้านายชั้นสูง | แทนชื่อที่พูดด้วย | พระคุณเจ้า | พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ | แทนชื่อที่พูดด้วย | พระคุณท่าน | พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป | แทนชื่อที่พูดด้วย | พระเดชพระคุณ | เจ้านาย, หรือพระภิกษุที่นับถือ | แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3) | พระองค์ | พระราชา, พระพุทธเจ้า, เทพผู้เป็นใหญ่ | แทนผู้ที่พูดถึง | ท่าน | เจ้านาย, ขุนนางผู้ใหญ่, พระภิกษุ, ผู้ใหญ่ที่นับถือ
|
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:03โดยไอหยุ หมัดชูดชู
คําราชาศัพท์หมวดพระสงฆ์
คำสามัญ | ราชาศัพท์ | คำสามัญ | ราชาศัพท์ | สรงน้ำ | อาบน้ำ | จังหัน | อาหาร | คำสอน(พระสังฆราช) | พระโอวาท | คำสั่ง(พระสังฆราช) | พระบัญชา | จำวัด | นอน | ฉัน | รับประทาน | ธรรมาสน์(พระสังฆราช) | พระแท่น | จดหมาย(พระสังฆราช) | พระสมณสาสน์ | นิมนต์ | เชิญ | อาพาธ | ป่วย | ที่นั่ง | อาสนะ | จดหมาย | ลิขิต | ปัจจัย | เงิน | ปลงผม | โกนผม | เรือนที่พักในวัด | กุฏิ | ห้องอาบน้ำ | ห้องสรงน้ำ | ประเคน | ถวาย | เพล | เวลาฉันอาหารกลางวัน | ห้องสุขา | ถาน,เวจกุฎี | อาหาร | ภัตตาหาร | มรณภาพ | ตาย | ประเคน | ถวาย | คำแจ้งถวายจตุปัจจัย | ใบปวารณา | อาหารถวายพระด้วยสลาก | สลากภัต | อังคาด | เลี้ยงพระ | ลิขิต | จดหมาย | สถานที่พระภิกษุใช้อาศัย | เสนาสนะ | เครื่องนุ่งห่ม | ไตรจีวร | ยารักษาโรค | คิลานเภสัช | คนรู้จัก | อุบาสก,อุบาสิกา | รูป | ลักษณนามสำหรัพระภิกษุ | องค์ | ลักษณนามสำหรัพระพุทธรูป |
|
โพสต์4 ก.ย. 2559 03:03โดยไอหยุ หมัดชูดชู
[
อัปเดต 4 ก.ย. 2559 03:08
]
การใช้คําราชาศัพท์ที่ควรสังเกตุ การใช้คำว่า “พระ” “พระบรม” “พระราช”“พระ” ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นอวัยวะ ของใช้ เช่นพระชานุ พระนลาฏ พระขนง เป็นต้น“พระบรม”ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบรมราโชวาท พระบรมราชานุเคราะห์ พระปรมาภิไธย เป็นต้น“พระราช” ใช้นำหน้าคำนาม แสดงว่าคำนามนั้นเป็นของ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เช่นพระราชประวัติ พระราชานุญาต พระราชวโรกาส เป็นต้นการใช้คำว่า “ทรง” มีหลัก 3 ประการ คือนำหน้าคำนามสามัญบางคำทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่นทรงรถ ทรงดนตรี ทรงช้าง ทรงเครื่อง เป็นต้นนำหน้าคำกริยาสามัญทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่นทรงวิ่ง ทรงเจิม ทรงออกกำลังกาย ทรงใช้ เป็นต้นนำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่นทรงพระราชดำริ ทรงพระอักษร ทรงพระดำเนิน ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นต้นคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้ “ทรง” นำหน้า เช่นเสวย เสด็จ โปรด เป็นต้นการใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามสำนวนไทย ไม่นิยมเลียนแบบสำนวนต่างประเทศ ถ้ามาต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องใช้ว่า ประชาชนมาเฝ้า ฯ รับเสด็จ คำว่า”เฝ้าฯรับเสด็จ” ย่อมาจาก”เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ”ไม่ใช้คำว่า”ถวายการต้อนรับ”คำว่า”คนไทยมีความจงรักภักดี” หรือ”แสดงความจงรักภักดี” ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช่คำว่า “ถวายความจงรักภักดี”การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผลคำว่า “อาคันตุกะ” “ราชอาคันตุกะ” และ”พระราชอาคันตุกะ” ใช้ดังนี้ คือให้ดูเจ้าของบ้านเป็นสำคัญ เช่นแขกของพระมหากษัตริย์ ใช้คำว่า”ราช”นำหน้า ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหากษัตริย์ก็ไม่ต้องมี”ราช”นำหน้าในการถวายสิ่งของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถ้าเป็นของเล็กยกได้ก็ใช้ “ทูลเกล้าฯ ถวาย”ถ้าเป็นของใหญ่ยกไม่ได้ใช้ “น้อมเกล้า ฯ ถวาย”
|
|