ประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสาร

โพสต์3 ก.ย. 2559 21:53โดยไอหยุ หมัดชูดชู   [ อัปเดต 3 ก.ย. 2559 22:14 ]
1. ประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสาร
    เจตนาของผู้ส่งสาร เช่น บอกกล่าว เสนอแนะ อธิบาย ซักถาม ขอร้อง วิงวอน สั่งห้าม เป็นต้น หากจะแบ่งประโยคตามหน้าที่หรือลักษณะที่ใช้ในการสื่อสาร สามารถแบ่งออกเป็น ลักษณะ ดังนี้ 

      1. การ
บอกเล่าหรือแจ้งให้ทราบ 
เป็นประโยคที่มีเนื้อความบอกเล่าบ่งชี้ให้เห็นว่า ประธานทำกริยา อะไร ที่ไหน อย่างไร และเมื่อไหร่ เช่น 
ฉันไปพบเขามาแล้ว 
เขาเป็นนักฟุตบอลทีมชาติ 

     2. การ
ปฏิเสธ 

เป็นประโยคมีเนื้อความปฏิเสธ จะมีคำว่า ไม่ ไม่ได้ หามิได้ มิใช่ ใช่ว่า ประกอบอยู่ด้วยเช่น 
เรา ไม่ได้ ส่งข่าวถึงกันนานแล้ว 
นั่น มิใช่ ความผิดของเธอ 

     3. การ
ถามให้ตอบ 
เป็นประโยคมีเนื้อความเป็นคำถาม จะมีคำว่า หรือ ไหม หรือไม่ ทำไม เมื่อไร ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร อยู่หน้าประโยคหรือท้ายประโยค เช่น 
เมื่อคืนคุณไป ที่ไหน มา 
เธอเห็นปากกาของฉันไหม 

     4. การ
บังคับ ขอร้อง และชักชวน 
เป็นประโยคที่มีเนื้อความเชิงบังคับ ขอร้อง และชักชวน โดยมีคำอนุภาค หรือ คำเสริมบอกเนื้อความของประโยค เช่น 
ห้าม เดินลัดสนาม 
กรุณา พูดเบา 
Comments