ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) คือประโยคที่ประกอบด้วยประโยคหลัก (มุขยประโยค) และประโยคย่อย (อนุประโยค) มารวมเป็นประโยคเดียวกัน โดยมี ประพันธสรรพนาม (ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน) ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม
ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร
ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลักให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
ประโยคความซ้อน
| ประโยคหลัก (มุขยประโยค) | ประโยคย่อย (อนุประโยค) | ตัวเชื่อม |
ฉันรักเพื่อนที่มีนิสัย เรียบร้อย | ฉันรักเพื่อน | ที่มีนิสัยเรียบร้อย | ที่ (แทนคำว่า"เพื่อน") |
พ่อแม่ทำงานหนักเพื่อ ลูกจะมีอนาคตสดใส | พ่อแม่ทำงานหนัก | ลูกจะมีอนาคตสดใส (ทำงานหนักเพื่ออะไร) | เพื่อ(ขยายวิเศษณ์ "หนัก") |
เขาบอกให้ ฉันลุกขึ้นยืนทันที | เขาบอก | ฉันลุกขึ้นยืนทันที (ขยายกริยา"บอก" บอกว่าอย่างไร) | ให้ |
ประโยคย่อย (อนุประโยค) ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรม หรือบทขยายกรรมของประโยคหลัก (มุขยประโยค)
อนุประโยคแบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ
๓.๑ นามานุประโยค หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น
ประโยคความซ้อน
| ประโยคหลัก (มุขยประโยค) | ประโยคย่อย (นามานุประโยค) | ตัวเชื่อม |
นายกรัฐมนตรีพูดว่า เยาวชนไทยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต | นายกรัฐมนตรีพูด | เยาวชนไทยต้องมี ความซื่อสัตย์สุจริต (เป็นกรรม) | ว่า |
พี่สาวทำให้น้องชายเลิกเล่นเกมได้โดยเด็ดขาด | พี่สาวทำ้..... | น้องชายเลิกเล่นเกม ได้โดยเด็ดขาด (เป็นกรรม) | ให้ |
ภาพยนตร์เรื่องนี้สอนว่า ทุกคนควรช่วยเหลือ สังคมเมื่อมีโอกาส | ภาพยนตร์เรื่องนี้สอน | ทุกคนควรช่วยเหลือ สังคมเมื่อมีโอกาส (เป็นกรรม) | ว่า |
รัฐสภาจัดงานใหญ่เป็น เกียรติแก่ผู้แทนราษฎร์ | .....เป็นเกียรติแก่ ผู้แทนราษฎร | รัฐสภาจัดงานใหญ่ (เป็นประธาน) | ว่า |
๓.๒ คุณานุประโยค หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนามหรือสรรพนามให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม เช่น
ประโยคความซ้อน
| ประโยคหลัก (มุขยประโยค) | ประโยคย่อย (คุณานุประโยค) | ตัวเชื่อม |
บ้านสวยที่อยู่บนภูเขา นั้นเป็นของนักร้องชื่อดัง | บ้านสวยเป็นของนักร้องชื่อดัง | ที่อยู่บนภูเขา (บ้านอยู่บนภูเขา) | ที่ |
ครูทุกคนไม่ชอบนักเรียน ที่แต่งตัวไม่สุภาพ เรียบร้อย | ครูทุกคนไม่ชอบ นักเรียน | ที่แต่งตัวไม่สุภาพ เรียบร้อย (นักเรียนแต่งตัวไม่ สุภาพเรียบร้อย) | ที่ |
คนซึ่งไปรับรางวัลเป็น น้องสาวของฉันเอง | คนเป็นน้องสาวของ ฉันเอง | ซึ่งไปรับรางวัล (คนไปรับรางวัล) | ซึ่ง |
๓.๓ วิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ฯลฯ
เช่น
ประโยคความซ้อน
| ประโยคหลัก (มุขยประโยค) | ประโยคย่อย (วิเศษณานุประโยค) | ตัวเชื่อม |
นักเรียนถูกลงโทษไม่ให้ออกนอกบริเวณโรงเรียน | นักเรียนถูกลงโทษ | ไม่ให้ออกนอกบริเวณ โรงเรียน | - |
หล่อนไปทำงานตั้งแต่ ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ เท่านั้นเอง | หล่อนไปทำงาน | ตั้งแต่ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ เท่านั้นเอง | ตั้งแต่ |
ข้อสังเกต ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ |
ข้อสังเกต ประโยคความซ้อน - ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ "ว่า" อยู่ในประโยค เรียกว่า นามานุประโยค - ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "ที่" "ซึ่ง" "อัน" อยู่หน้าประโยค เรียกว่า คุณานุประโยค - ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "เมื่อ" "เพราะ" "แม้ว่า" อยู่หน้าประโยค เรียกว่า วิเศษณานุประโยค |
* ความรู้เสริมน่ารู้
นักภาษาศาสตร์บางท่าน ก็ได้จัดประโยคที่พูดถึงผลก่อน แล้วเหตุอยู่ข้างหลัง เป็นประโยคความรวมนะค่ะ
เพราะคำประพันธวิเศษณ์ที่ปรากฏถือเป็นสันธานเชื่อมประโยค ดังนั้นจึงเรียกว่า ประโยคความรวมสับสนเหมือนกันนะค่ะเนี่ย....