3.ประโยคความรวม ประโยคความรวมจะนำประโยคความเดียวมารวมกันค่ะ โดยมีคำสันธานเป็นตัวเชื่อม วิธีดูง่ายๆก็คือ ประโยคความรวมจะแยกเป็นสองประโยคที่มีความหมายสมบูรณ์ได้ครับ
1.1 ความรวมแบบคล้อยตาม เนื้อหาจะไปในทางเดียวกันค่ะ - พอภรรยาโกรธจริงเขาก็เงียบทุกครั้ง - ครั้นภรรยาตวาดเขาก็หลบหน้า - ความรวมแบบไม่มีคำเชื่อมก็มีนะค่ะ - ขนมหวานอร่อย (ขนมหวาน+ขนมอร่อย) - แม่นั่งป้อนข้าวน้อง (แม่นั่ง+แม่ป้อนข้าวน้อง) มีสันธาน และ แล้ว แล้ว...ก็ ครั้ง...จึง พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ ๑.๑ ประธานหนึ่งคนทำกริยา ๒ กริยาต่อเนื่องกัน เช่น
๑.๒ ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น
1.2 ความรวมแบบขัดแย้ง เนื้อความจะขัดแย้งซึ่งกันและกัน - กว่าเขาจะนึกได้ก็สายไปเสียแล้ว - ถึงเขาจะมีอิทธิพลมากผมก็ไม่กลัว - พ่อไปทำงานแต่แม่อยู่บ้าน มีสันธาน แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
1.3 ความรวมแบบเหตุผล บอกสาเหตุกับผลลัพธ์ว่าเกิดอะไรขึ้น โดยเหตุอยู่หน้า และผลอยู่หลัง เท่านั้นนะค่ะ - เขาทุจริตในการสอบเขาจึงถูกปรับตกทุกวิชา - เพราะเขาโดนใบเหลืองสองใบ จึงถูกไล่ออกจากสนาม
1.4 ความรวมแบบเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เลือกได้อย่างเดียวครับ ห้ามหลายใจ - ไม่เธอก็ฉันต้องออกไปพูดหน้าห้อง - คุณต้องการชาหรือกาแฟค่ะ มีสันธาน หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
|