ประโยค

ประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสาร

โพสต์3 ก.ย. 2559 21:53โดยไอหยุ หมัดชูดชู   [ อัปเดต 3 ก.ย. 2559 22:14 ]

1. ประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสาร
    เจตนาของผู้ส่งสาร เช่น บอกกล่าว เสนอแนะ อธิบาย ซักถาม ขอร้อง วิงวอน สั่งห้าม เป็นต้น หากจะแบ่งประโยคตามหน้าที่หรือลักษณะที่ใช้ในการสื่อสาร สามารถแบ่งออกเป็น ลักษณะ ดังนี้ 

      1. การ
บอกเล่าหรือแจ้งให้ทราบ 
เป็นประโยคที่มีเนื้อความบอกเล่าบ่งชี้ให้เห็นว่า ประธานทำกริยา อะไร ที่ไหน อย่างไร และเมื่อไหร่ เช่น 
ฉันไปพบเขามาแล้ว 
เขาเป็นนักฟุตบอลทีมชาติ 

     2. การ
ปฏิเสธ 

เป็นประโยคมีเนื้อความปฏิเสธ จะมีคำว่า ไม่ ไม่ได้ หามิได้ มิใช่ ใช่ว่า ประกอบอยู่ด้วยเช่น 
เรา ไม่ได้ ส่งข่าวถึงกันนานแล้ว 
นั่น มิใช่ ความผิดของเธอ 

     3. การ
ถามให้ตอบ 
เป็นประโยคมีเนื้อความเป็นคำถาม จะมีคำว่า หรือ ไหม หรือไม่ ทำไม เมื่อไร ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร อยู่หน้าประโยคหรือท้ายประโยค เช่น 
เมื่อคืนคุณไป ที่ไหน มา 
เธอเห็นปากกาของฉันไหม 

     4. การ
บังคับ ขอร้อง และชักชวน 
เป็นประโยคที่มีเนื้อความเชิงบังคับ ขอร้อง และชักชวน โดยมีคำอนุภาค หรือ คำเสริมบอกเนื้อความของประโยค เช่น 
ห้าม เดินลัดสนาม 
กรุณา พูดเบา 

ประโยคความเดียว

โพสต์3 ก.ย. 2559 21:50โดยไอหยุ หมัดชูดชู   [ อัปเดต 3 ก.ย. 2559 22:14 ]

2. ประโยคความเดียว

          ถึงจะยาวแค่ไหน ก็เป็นประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียวเท่านั้นค่ะ

จะแบ่งประโยคตามส่วนประกอบและยกตัวอย่างไปพร้อมๆกันเลยนะค่ะ 

 

3.1  ประโยคความเดียวที่ประกอบด้วยประธาน และกริยา


        - ประธาน + กริยา

        เช่น กบร้อง ฝนตก ดอกไม้สวย


        - ประธาน + ขยายประธาน + กริยา

        เช่น กบตัวโตร้อง ฝนโบกขรพรรษตก ดอกกุหลาบแดงสวย


        - ประธาน+ขยายประธาน+กริยา + ขยายกริยา

        เช่น เด็กข้างบ้านร้องไห้ดังลั่น งูตัวใหญ่ค่อยๆเลื้อยไปอย่างเชื่องช้า


        - ประธาน+กริยา+ขยายกริยา

        เช่น น้ำท่วมอย่างฉับพลัน เขาเดินทางโดยเครื่องบิน

 

3.2  ประโยคความเดียวที่ประกอบด้วยประธาน กริยา และกรรม  เช่น  กบกินแมลง  งูไล่หนู  ฟ้าผ่าต้นไม้


        - ประธาน+ขยายประธาน+กริยา+กรรม

          เช่น น้องของฉันเห็นงู กบสีเขียวในสระกินแมลง


        - ประธาน+ขยายประธาน+กริยา+กรรม+ขยายกริยา

          เช่น แมลงปีกแข็งกระพือปีกเร็วมาก


        - ประธาน+กริยา+กรรม+ขยายกรรม

          เช่น พ่อซื้อบ้านตากอากาศริมทะเลชะอำ


ประโยคความรวม

โพสต์3 ก.ย. 2559 21:48โดยไอหยุ หมัดชูดชู   [ อัปเดต 3 ก.ย. 2559 22:06 ]

3.ประโยคความรวม


     ประโยคความรวมจะนำประโยคความเดียวมารวมกันค่ะ โดยมีคำสันธานเป็นตัวเชื่อม

วิธีดูง่ายๆก็คือ ประโยคความรวมจะแยกเป็นสองประโยคที่มีความหมายสมบูรณ์ได้ครับ 

 

1.1 ความรวมแบบคล้อยตาม เนื้อหาจะไปในทางเดียวกันค่ะ


- พอภรรยาโกรธจริงเขาก็เงียบทุกครั้ง

- ครั้นภรรยาตวาดเขาก็หลบหน้า

         - ความรวมแบบไม่มีคำเชื่อมก็มีนะค่ะ 

- ขนมหวานอร่อย  (ขนมหวาน+ขนมอร่อย)

- แม่นั่งป้อนข้าวน้อง  (แม่นั่ง+แม่ป้อนข้าวน้อง)


 มีสันธาน และ แล้ว  แล้ว...ก็  ครั้ง...จึง  พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม

 แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ  คือ

                    ๑.๑ ประธานหนึ่งคนทำกริยา ๒ กริยาต่อเนื่องกัน เช่น


ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว 
ประโยคความเดียว 
สันธาน 

พอฉันทำการบ้านเสร็จก็ไปดูโทรทัศน์ทันที 
ฉันทำการบ้านเสร็จ 
ฉันไปดูโทรทัศน์ 
พอ...ก็ 
                    
                    ๑.๒ ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น


ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว 
ประโยคความเดียว 
สันธาน 

สุมาลีและจินดาเรียน
ยุวกาชาดเหมือนกัน
สุมาลีเรียนยุวกาชาด 
จินดาเรียนยุวกาชาด 
และ 
           

1.2 ความรวมแบบขัดแย้ง เนื้อความจะขัดแย้งซึ่งกันและกัน


- กว่าเขาจะนึกได้ก็สายไปเสียแล้ว

- ถึงเขาจะมีอิทธิพลมากผมก็ไม่กลัว

- พ่อไปทำงานแต่แม่อยู่บ้าน


 มีสันธาน  แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็  ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม  เช่น  


ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว 
ประโยคความเดียว 
สันธาน 

ฉันรักเขามากแต่ทว่า
เขากลับไม่รักฉันเลย
ฉันรักเขามาก 
เขากลับไม่รักฉันเลย 
แต่ทว่า 
           

1.3 ความรวมแบบเหตุผล   บอกสาเหตุกับผลลัพธ์ว่าเกิดอะไรขึ้น โดยเหตุอยู่หน้า และผลอยู่หลัง เท่านั้นนะค่ะ


- เขาทุจริตในการสอบเขาจึงถูกปรับตกทุกวิชา

- เพราะเขาโดนใบเหลืองสองใบ จึงถูกไล่ออกจากสนาม 

มีสันธาน จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม  เช่น


ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว 
ประโยคความเดียว 
สันธาน 

เพราะเธอเป็นคนเห็น
แก่ตัวจึงไม่มีใครคบค้า
สมาคมด้วย
เธอเป็นคนเห็นแก่ตัว
(ประโยคเหตุ)
ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย
(ประโยคผล)
เพราะ...จึง 

ข้อสังเกต        ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น  ประโยคเหตุจะต้องมาก่อน
                      ประโยคผลเสมอ

1.4 ความรวมแบบเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เลือกได้อย่างเดียวครับ ห้ามหลายใจ


- ไม่เธอก็ฉันต้องออกไปพูดหน้าห้อง

- คุณต้องการชาหรือกาแฟค่ะ


มีสันธาน หรือ  หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็  ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น



ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว 
ประโยคความเดียว 
สันธาน 

แก้วหรือไม่ก็ก้อยไปช่วยแม่ยกของหน่อยจ้ะ 
แก้วไปช่วยแม่ยกของ 
ก้อยไปช่วยแม่ยกของ 
หรือไม่ก็ 
           

ประโยคความซ้อน

โพสต์3 ก.ย. 2559 21:46โดยไอหยุ หมัดชูดชู   [ อัปเดต 3 ก.ย. 2559 22:11 ]

4. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)


ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) คือประโยคที่ประกอบด้วยประโยคหลัก      (มุขยประโยค) และประโยคย่อย (อนุประโยค) มารวมเป็นประโยคเดียวกัน โดยมี     ประพันธสรรพนาม (ผู้ที่ซึ่งอัน) ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม 

   ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร

   ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลักให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง

ประโยคความซ้อน
ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)
ประโยคย่อย
(อนุประโยค)
ตัวเชื่อม 

ฉันรักเพื่อนที่มีนิสัย
เรียบร้อย
ฉันรักเพื่อน 
ที่มีนิสัยเรียบร้อย 
ที่
(แทนคำว่า"เพื่อน")

พ่อแม่ทำงานหนักเพื่อ
ลูกจะมีอนาคตสดใส
พ่อแม่ทำงานหนัก 
ลูกจะมีอนาคตสดใส
(ทำงานหนักเพื่ออะไร)
เพื่อ(ขยายวิเศษณ์
"หนัก")

เขาบอกให้
ฉันลุกขึ้นยืนทันที
เขาบอก 
ฉันลุกขึ้นยืนทันที
(ขยายกริยา"บอก" 
บอกว่าอย่างไร)
ให้ 
    ประโยคย่อย (อนุประโยค)  ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรม หรือบทขยายกรรมของประโยคหลัก  (มุขยประโยค) 
    อนุประโยคแบ่งออกเป็น  ๓  อย่าง  คือ 

        ๓.๑ นามานุประโยค หมายถึง  ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น

ประโยคความซ้อน
ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)
ประโยคย่อย
(นามานุประโยค)
ตัวเชื่อม 

นายกรัฐมนตรีพูดว่า
เยาวชนไทยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต
นายกรัฐมนตรีพูด 
เยาวชนไทยต้องมี
ความซื่อสัตย์สุจริต
(เป็นกรรม)
ว่า 

พี่สาวทำให้น้องชายเลิกเล่นเกมได้โดยเด็ดขาด 
พี่สาวทำ้..... 
น้องชายเลิกเล่นเกม
ได้โดยเด็ดขาด
(เป็นกรรม)
ให้ 

ภาพยนตร์เรื่องนี้สอนว่า
ทุกคนควรช่วยเหลือ
สังคมเมื่อมีโอกาส
ภาพยนตร์เรื่องนี้สอน 
ทุกคนควรช่วยเหลือ
สังคมเมื่อมีโอกาส
(เป็นกรรม)
ว่า 

รัฐสภาจัดงานใหญ่เป็น
เกียรติแก่ผู้แทนราษฎร์
.....เป็นเกียรติแก่
ผู้แทนราษฎร
รัฐสภาจัดงานใหญ่
(เป็นประธาน)
ว่า 
       ๓.๒ คุณานุประโยค  หมายถึง  อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนามหรือสรรพนามให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม  เช่น

ประโยคความซ้อน
ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)
ประโยคย่อย
(คุณานุประโยค)
ตัวเชื่อม 

บ้านสวยที่อยู่บนภูเขา
นั้นเป็นของนักร้องชื่อดัง
บ้านสวยเป็นของนักร้องชื่อดัง 
  ที่อยู่บนภูเขา
(บ้านอยู่บนภูเขา)
ที่ 

ครูทุกคนไม่ชอบนักเรียน
ที่แต่งตัวไม่สุภาพ
เรียบร้อย
 ครูทุกคนไม่ชอบ
นักเรียน
 ที่แต่งตัวไม่สุภาพ
เรียบร้อย
(นักเรียนแต่งตัวไม่
สุภาพเรียบร้อย)
ที่ 

คนซึ่งไปรับรางวัลเป็น
น้องสาวของฉันเอง
 คนเป็นน้องสาวของ
ฉันเอง
ซึ่งไปรับรางวัล
(คนไปรับรางวัล)
ซึ่ง 
       ๓.๓ วิเศษณานุประโยค  คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ฯลฯ
เช่น 

ประโยคความซ้อน
ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)
ประโยคย่อย
(วิเศษณานุประโยค)
ตัวเชื่อม 

นักเรียนถูกลงโทษไม่ให้ออกนอกบริเวณโรงเรียน 
 นักเรียนถูกลงโทษ
ไม่ให้ออกนอกบริเวณ
โรงเรียน
-

หล่อนไปทำงานตั้งแต่
ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ
เท่านั้นเอง
 หล่อนไปทำงาน
ตั้งแต่ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ 
เท่านั้นเอง
ตั้งแต่ 

   ข้อสังเกต               ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ

ข้อสังเกต        ประโยคความซ้อน 
                                      -  ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ "ว่า" อยู่ในประโยค
                         เรียกว่า  นามานุประโยค
                                      -  ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "ที่"  "ซึ่ง"  "อัน"  อยู่หน้าประโยค
                         เรียกว่า  คุณานุประโยค
                                      -  ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "เมื่อ"  "เพราะ"  "แม้ว่า" อยู่หน้าประโยค
                         เรียกว่า  วิเศษณานุประโยค
                          



* ความรู้เสริมน่ารู้


นักภาษาศาสตร์บางท่าน  ก็ได้จัดประโยคที่พูดถึงผลก่อน แล้วเหตุอยู่ข้างหลัง เป็นประโยคความรวมนะค่ะ


เพราะคำประพันธวิเศษณ์ที่ปรากฏถือเป็นสันธานเชื่อมประโยค  ดังนั้นจึงเรียกว่า ประโยคความรวมสับสนเหมือนกันนะค่ะเนี่ย.... 

1-4 of 4