คำสมาส

โพสต์3 ก.ย. 2559 21:30โดยไอหยุ หมัดชูดชู


    คำสมาส คือ คำที่เกิดจากการนำคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ ที่มีความหมายใหม่ โดยยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู่

หลักสังเกตคำสมาสในภาษาไทย 
1. เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป 
2. เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น เช่น กาฬพักตร์ ภูมิศาสตร์ ราชธรรม บุตรทาน อักษรศาสตร์ อรรถคดี ฯลฯ
3. พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่ ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคำบางคำ เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น) 
4. แปลความจากหลังมาหน้า เช่น ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระราชาเทวบัญชา แปลว่า คำสั่งของเทวดาราชการ แปลว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน 
5. ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่ โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น เทพบุตร) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม สมุทรปราการ) 
6. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต ก็ถือว่าเป็นคำสมาส (เช่น พระกร พระจันทร์)
7. ส่วนใหญ่จะลงท้ายว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา ศิลป์ วิทยา (เช่น ศึกษาศาสตร์ ทุกขภาพ จิตวิทยา)
8. อ่านออกเสียงระหว่างคำ เช่น

ประวัติศาสตร์

อ่านว่า

ประ – หวัด – ติ ศาสตร์

นิจศีล

อ่านว่า

นิจ – จะ – สีน

ไทยธรรม

อ่านว่า

ไทย – ยะ – ทำ

อุทกศาสตร์

อ่านว่า

อุ – ทก – กะ – สาด

อรรถรส

อ่านว่า

อัด – ถะ – รด

จุลสาร

อ่านว่า

จุน – ละ – สาน

9. คำที่มีคำเหล่านี้อยู่ด้วย มักจะเป็นคำสมาส คือ การ กร กรรม คดี ธรรม บดี ภัย ภัณฑ์ ภาพ ลักษณ์วิทยา ศาสตร์ 

ข้อสังเกต


1. ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด เช่น

เทพเจ้า

(เจ้า เป็นคำไทย)

พระโทรน

(ไม้ เป็นคำไทย)

พระโทรน

(โทรน เป็นคำอังกฤษ)

บายศรี

(บาย เป็นคำเขมร)

2.คำที่ไม่สามารถแปลความจากหลังมาหน้าได้ไม่ใช่คำสมาส เช่น

ประวัติวรรณคดี

แปลว่า

ประวัติของวรรณคดี

นายกสมาคม

แปลว่า

นายกของสมาคม

วิพากษ์วิจารณ์

แปลว่า

การวิพากษ์และการวิจารณ์

3. คำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระตรงพยางค์ของคำหน้า เช่น

ปรากฏ

อ่านว่า

ปรา – กด – กาน

สุภาพบุรุษ

อ่านว่า

สุ – พาบ – บุ – หรุด

สุพรรณบุรี

อ่านว่า

สุ – พรรณ – บุ – รี

สามัญศึกษา

อ่านว่า

สา – มัน – สึก – สา

 

    ตัวอย่างคำสมาส

 

ธุรกิจ

กิจกรรม

กรรมกร

ขัณฑสีมา

คหกรรม


เอกภพ

กาฬทวีป

สุนทรพจน์

จีรกาล

บุปผชาติ


ประถมศึกษา

ราชทัณฑ์

มหาราช

ฉันทลักษณ์

พุทธธรรม


วรรณคดี

อิทธิพล

มาฆบูชา

มัจจุราช

วิทยฐานะ


วรรณกรรม

สัมมาอาชีพ

หัตถศึกษา

ยุทธวิธี

วาตภัย


อุตสาหกรรม

สังฆราช

รัตติกาล

วสันตฤดู

สุขภาพ


อธิการบดี

ดาราศาสตร์

พุพภิกขภัย

สุคนธรส

วิสาขบูชา


บุตรทาน

สมณพราหมณ์

สังฆเภท

อินทรธนู

ฤทธิเดช


แพทย์ศาสตร์

ปัญญาชน

วัตถุธรรม

มหานิกาย

มนุษยสัมพันธ์


วิทยาธร

วัฏสงสาร

สารัตถศึกษา

พัสดุภัณฑ์

เวชกรรม


เวทมนตร์

มรรคนายก

อัคคีภัย

อุดมคติ

เอกชน


ทวิบาท

ไตรทวาร

ศิลปกรรม

ภูมิศาสตร์

รัฐศาสตร์


กาฬพักตร์

ราชโอรส

ราชอุบาย

บุตรทารก

ทาสกรรมกร


พระหัตถ์

พระชงฆ์

พระพุทธ

พระปฤษฏางค์

วิทยาศาสตร์



กายภาพ

กายกรรม

อุทกภัย

วรพงศ์

เกษตรกรรม


ครุศาสตร์

ชีววิทยา

มหกรรม

อัฏฐางคิกมรรค

มหาภัย



อุบัติเหตุ

กรรมกร

สันติภาพ

มหานคร

จตุปัจจัย

คำสนธิ

คำสนธิ  คือการประสมคำของภาษาบาลีสันสกฤต ถือว่าเป็นคำสมาสชนิดหนึ่ง แต่เป็นคำสมาสที่มีการเลี่ยนแปลง

รูปศัพท์โดยมี    หลักเกณฑ์ดังนี้

1.      ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น

2.      ศัพท์ประกอบไว้หน้าศัพท์หลักไว้หลัง

3.      แปลจากหลังไปหน้า

4.      ถ้าเป็นสระสนธิ ศัพท์ตัวหลังจะขึ้นต้นด้วยตัว   อ

5.      มีการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ตามหลักที่จะกล่าวต่อไป

 

การสนธิมีอยู่    3   อย่างคือ   สระสนธิ  พยัญชนะสนธิ และนฤตหิตสนธิ

1.      สระสนธิ  คือการนำคำบาลีสันสกฤต      มาสนธิกับคำที่ขึ้นต้ตด้วย สระ มีหลักดังนี้

1.1    ตัดสระท้ายคำหน้า ให้ใช้สระคำหลัง เช่น

หิมะ+อาลัย        ตัด ะ     ใช้          สนธิเป็น     หิมาลัย

ชล+อาลัย           ตัด ะ      ใช้         สนธิเป็น      ชลาลัย

วชิร+อาวุธ     เป็น  วชิราวุธ             วร+โอกาส    เป็น  วโรกาส

ขีปน+อาวุธ    เป็น   ขีปนาวุธ           ภุช+องค์       เป็น  ภุชงค์

มหา+ไอศวรรย์เป็น    มไหศวรรย์    มหา+อรรณพ  เป็นมหรรณพ

1.2    ตัดสระท้ายคำหน้า ใช้สระหน้าคำหลัง    

ถ้าสระหน้าของคำหลังเป็น  อะ  ให้เปลี่ยนเป็น  อา   เช่น 

     ราช+อธิราช     เป็น     ราชาธิราช

     ประชา+อธิปไตย    เป็น  ประชาธิปไตย

     เทศ+อภิบาล       เป็น   เทศาภิบาล

ถ้าสระหน้าของคำหลังเป็น  อิ     ให้เปลี่ยนเป็น  เอ   เช่น

     ราม+อิศวร      เป็น     ราเมศวร

      ปรม+อินทร์    เป็น    ปรมินทร์

      นร+อินทร์      เป็น     นรินทร์

      มหา+อิสี       เป็น    มเหสี

       นร+อิศวร     เป็น    นเรศวร

 

ยกเว้น ภูมิ+อินทร์    เป็น  ภูมินทร์                      กรี+อินทร์     เป็น    กรินทร์

            มุนิ+อินทร์    เป็น  มุนินทร์                      โกสี+อินทร์  เป็น   โกสินทร์

 

ถ้าสระหน้าของคำหลังเป็น   อุ    ให้เปลี่ยนเป็น    อู  หรือ  โอ  เช่น

ราช+อุปโภค   เป็น   ราชูปโภค                ชล+อุทร         เป็น     ชโลธร

     ราช+อุบาย      เป็น    ราโชบาย                ราช+อุปถัมภ์   เป็น  ราชูปถัมภ์

     นย+อุบาย       เป็น     นโยบาย                 คุณ+อุปการ     เป็น   คุณูปการ

 

ยกเว้น    มัคคุ+อุเทศก์     เป็น   มัคคุเทศก์

 

       1.3   เปลี่ยนสระที่ท้ายคำหน้า  อิ   อี  เป็น     

                                                        อุ   อู  เป็น     ว  

              แล้วจึงสนธิตามหลักในข้อ1.และ2.    

ตัวอย่าง     การเปลี่ยนสระที่ท้ายคำหน้า  อิ   อี  เป็น     ย     เช่น

            รติ+อารมณ์   เปลี่ยน อิ   เป็น      ได้   รตย    สนธิกับ   อารมณ์    เป็น  รตยารมณ์

            มติ+อธิบาย       เป็น   มตย+อธิบาย     สนธิเป็น    มตยาธิบาย

             อัคคี+โอภาส   เป็น   อตย+โอภาส      สนธิเป็น   อัคโยภาส

อธิ+อาศัย         เป็นอธย+อาศัย            สนธิเป็น   อธยาศัย   หรือ  อัธยาศัย

 

ยกเว้น หัตถี+อาจารย์ เป็นหัตถาจารย์          ศักดิ+อานุภาพ  เป็น  ศักดานุภาพ

 

ตัวอย่าง     การเปลี่ยนสระที่ท้ายคำหน้า  อุ    อู  เป็น     ว   เช่น

             ธนู+อาคม      เป็น  ธนว+อาคม        สนธิเป็น    ธนวาคม   หรือธันวาคม

             จักขุ+อาพาธ   เป็น จักขว+อาพาธ    สนธิเป็น    จักขวาพาธ

             สินธุ+อานนท์  เป็น  สินธว+อานนท์   สนธิเป็น  สินธวานนท์

 

2.  พยัญชนะสนธิ   คือคำภาษาบาลี  สันสกฤตที่นำมาสนธิกับพยัญชนะ  มีหลักดังนี้

     2.1  คำที่ลงท้ายด้วย ส   สนธิกับพยัญชนะ  ให้เปลี่ยน ส เป็น  โ   เช่น

            มนัส+ธรรม   เป็น  มโนธรรม         มนัส+มัย   เป็น   มโนมัย

            มนัส+คติ      เป็น   มโนคติ             ศิรัส+เวฐน์   เป็นศิโรเวฐน์

          รหัส+ฐาน     เป็น   รโหฐาน

     2.2  คำที่ขึ้นต้นด้วย   ทุส    และ  นิส  สนธิกับพยัญชนะ   ให้เปลี่ยน     เป็น    เช่น

             ทุส+ชน เป็น  ทุรชนหรือ ทรชน           ทุส+กันดาร   เป็น     ทุรกันดาร

             ทุส+พิษ  เป็น   ทุรพิษหรือ  ทรพิษ       ทุส+กรรม      เป็น      ทุรกรรมหรือทรกรรม

นิส+คุณ  เป็น   นิรคุณ                            นิร+อาศ       เป็น      นิราศ

นิส+เทศ  เป็น   นิรเทศ                            นิส+โทษ     เป็น     นิรโทศ

3.นฤคหิตสนธิ  คือคำบาลีสันสกฤตที่นำมาสนธิกับนฤคหิต  มีหลักดังนี้

3.1  นฤคหิต  สนธิกับสระ เปลี่ยน ๐ เป็นพยัญชนะท้ายวรรคนั้นก่อนการสนธิ เช่น

       สนธิกับวรรค กะ เปลี่ยน   ๐   เป็น     เช่น

                              สํ+กร เป็น สังกร         สํ+เกต เป็น สังเกต      สํ+ขาร    เป็น   สังขาร

      สนธิกับวรรค จะ  เปลี่ยน ๐  เป็น    เช่น

                  สํ+จร เป็น  สัญจร       สํ+ชาติ เป็น สัญชาติ    สํ+ญา   เป็น  สัญญา

สนธิกับวรรค   ฏะ  เปลี่ยน ๐  เป็น       เช่น

            สํ+ฐาน   เป็น  สัณฐาน      สํ+ฐิติ    เป็น   สัณฐิติ

สนธิกับวรรค   ตะ  เปลี่ยน ๐  เป็น  น    เช่น

สํ+ดาน  เป็น  สันดาน  สํ+โดษ  เป็น  สันโดษ   สํ+นิวาส  เป็น  สันนิวาส

สนธิกับวรรค   ปะ  เปลี่ยน ๐  เป็น   ม   เช่น

            สํ+บัติ   เป็น  สมบัติ      สํ+บูรณ์    เป็น  สมบูรณ์    สํ+ภพ  เป็น  สมภพ

สนธิกับเศษวรรค      เปลี่ยน ๐  เป็น         ก่อนสนธิเช่น

            สํ+โยค   เป็น สังโยค     สํ+วร   เป็น  สังวร     สํ+หรณ์   เป็น สังหรณ์

Comments