โพสต์3 ก.ย. 2559 21:29โดยไอหยุ หมัดชูดชู
[
อัปเดต 3 ก.ย. 2559 21:29
]
คำมูล คือ คำคำเดียวที่ไม่ได้ประสมกับคำอื่นเป็นคำพื้นฐานที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง มีความหมายชัดเจนซึ่งอาจเป็นคำไทยแท้หรือคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ และจะเป็นคำ “พยางค์” เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ตัวอย่าง เช่นดู ไม่ พ่อ แม่ เด็ก กิน ตก มี ๑ พยางค์ สิงโต (สิง – โต) มี ๒ พยางค์ จักรวาล (จัก – กระ – วาน) มี ๓ พยางค์ มหาวิทยาลัย (มะ – หา – วิด – ทะ – ยา – ลัย) มี ๖ พยางค์ เป็นต้น ชนิดของคำมูล คำมูลแบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ ๑. คำมูลพยางค์เดียว เป็นคำที่ออกเสียงเพียงครั้งเดียว และมีความหมายชัดเจนในตัวเอง เช่น คำที่มาจากคำไทยแท้ ได้แก่ พ่อ แม่ ครู ลูก เต่า น้อง บ้าน เพลง ชาม พ่อ ยืน หิว ยิ้ม สุข ใน คำที่มาจากภาษาอื่น ได้แก่ ฟรีไมล์ ธรรม เกี๊ยะ เกี๊ยว เจี๊ยะ แป๊ะ ซิ้ม เมตร ปอนด์ ฟุต ๒. คำมูลหลายพยางค์ เป็นคำที่ออกเสียงตั้งแต่ ๒ ครั้งขึ้นไป ถ้าแยกพยางค์ออกแต่ละพยางค์จะไม่มีความหมาย หรือมีความหมายเพียงพยางค์ใดพยางค์หนึ่ง เช่น ถนน นาฬิกา กระเป๋า กางเกง กระดาษ ศิลปะ กำมะลอ วิทยุ กระต่าย แจกัน กระจง ตะไคร้ จิ้งหรีด เขม่น กระหยิ่ม สะดุด ละล่ำละลัก ข้อสังเกตคำมูล ๑. ประกอบด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมาย เช่น จิ้งหรีด จะเห็นว่าพยางค์ “จิ้ง” และ “หรีด” ต่างก็ไม่มีความหมาย ๒. ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายเพียงบางพยางค์ เช่น กิริยา จะเห็นว่าพยางค์ “ยา” มีความหมายเพียงพยางค์เดียว ๓. ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมาย แต่ความหมายของคำนั้นไม่มีเค้าความหมายของแต่ละพยางค์เหลืออยู่เลย |
|