คำ

คำสมาส

โพสต์3 ก.ย. 2559 21:30โดยไอหยุ หมัดชูดชู


    คำสมาส คือ คำที่เกิดจากการนำคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ ที่มีความหมายใหม่ โดยยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู่

หลักสังเกตคำสมาสในภาษาไทย 
1. เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป 
2. เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น เช่น กาฬพักตร์ ภูมิศาสตร์ ราชธรรม บุตรทาน อักษรศาสตร์ อรรถคดี ฯลฯ
3. พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่ ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคำบางคำ เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น) 
4. แปลความจากหลังมาหน้า เช่น ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระราชาเทวบัญชา แปลว่า คำสั่งของเทวดาราชการ แปลว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน 
5. ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่ โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น เทพบุตร) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม สมุทรปราการ) 
6. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต ก็ถือว่าเป็นคำสมาส (เช่น พระกร พระจันทร์)
7. ส่วนใหญ่จะลงท้ายว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา ศิลป์ วิทยา (เช่น ศึกษาศาสตร์ ทุกขภาพ จิตวิทยา)
8. อ่านออกเสียงระหว่างคำ เช่น

ประวัติศาสตร์

อ่านว่า

ประ – หวัด – ติ ศาสตร์

นิจศีล

อ่านว่า

นิจ – จะ – สีน

ไทยธรรม

อ่านว่า

ไทย – ยะ – ทำ

อุทกศาสตร์

อ่านว่า

อุ – ทก – กะ – สาด

อรรถรส

อ่านว่า

อัด – ถะ – รด

จุลสาร

อ่านว่า

จุน – ละ – สาน

9. คำที่มีคำเหล่านี้อยู่ด้วย มักจะเป็นคำสมาส คือ การ กร กรรม คดี ธรรม บดี ภัย ภัณฑ์ ภาพ ลักษณ์วิทยา ศาสตร์ 

ข้อสังเกต


1. ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด เช่น

เทพเจ้า

(เจ้า เป็นคำไทย)

พระโทรน

(ไม้ เป็นคำไทย)

พระโทรน

(โทรน เป็นคำอังกฤษ)

บายศรี

(บาย เป็นคำเขมร)

2.คำที่ไม่สามารถแปลความจากหลังมาหน้าได้ไม่ใช่คำสมาส เช่น

ประวัติวรรณคดี

แปลว่า

ประวัติของวรรณคดี

นายกสมาคม

แปลว่า

นายกของสมาคม

วิพากษ์วิจารณ์

แปลว่า

การวิพากษ์และการวิจารณ์

3. คำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระตรงพยางค์ของคำหน้า เช่น

ปรากฏ

อ่านว่า

ปรา – กด – กาน

สุภาพบุรุษ

อ่านว่า

สุ – พาบ – บุ – หรุด

สุพรรณบุรี

อ่านว่า

สุ – พรรณ – บุ – รี

สามัญศึกษา

อ่านว่า

สา – มัน – สึก – สา

 

    ตัวอย่างคำสมาส

 

ธุรกิจ

กิจกรรม

กรรมกร

ขัณฑสีมา

คหกรรม


เอกภพ

กาฬทวีป

สุนทรพจน์

จีรกาล

บุปผชาติ


ประถมศึกษา

ราชทัณฑ์

มหาราช

ฉันทลักษณ์

พุทธธรรม


วรรณคดี

อิทธิพล

มาฆบูชา

มัจจุราช

วิทยฐานะ


วรรณกรรม

สัมมาอาชีพ

หัตถศึกษา

ยุทธวิธี

วาตภัย


อุตสาหกรรม

สังฆราช

รัตติกาล

วสันตฤดู

สุขภาพ


อธิการบดี

ดาราศาสตร์

พุพภิกขภัย

สุคนธรส

วิสาขบูชา


บุตรทาน

สมณพราหมณ์

สังฆเภท

อินทรธนู

ฤทธิเดช


แพทย์ศาสตร์

ปัญญาชน

วัตถุธรรม

มหานิกาย

มนุษยสัมพันธ์


วิทยาธร

วัฏสงสาร

สารัตถศึกษา

พัสดุภัณฑ์

เวชกรรม


เวทมนตร์

มรรคนายก

อัคคีภัย

อุดมคติ

เอกชน


ทวิบาท

ไตรทวาร

ศิลปกรรม

ภูมิศาสตร์

รัฐศาสตร์


กาฬพักตร์

ราชโอรส

ราชอุบาย

บุตรทารก

ทาสกรรมกร


พระหัตถ์

พระชงฆ์

พระพุทธ

พระปฤษฏางค์

วิทยาศาสตร์



กายภาพ

กายกรรม

อุทกภัย

วรพงศ์

เกษตรกรรม


ครุศาสตร์

ชีววิทยา

มหกรรม

อัฏฐางคิกมรรค

มหาภัย



อุบัติเหตุ

กรรมกร

สันติภาพ

มหานคร

จตุปัจจัย

คำสนธิ

คำสนธิ  คือการประสมคำของภาษาบาลีสันสกฤต ถือว่าเป็นคำสมาสชนิดหนึ่ง แต่เป็นคำสมาสที่มีการเลี่ยนแปลง

รูปศัพท์โดยมี    หลักเกณฑ์ดังนี้

1.      ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น

2.      ศัพท์ประกอบไว้หน้าศัพท์หลักไว้หลัง

3.      แปลจากหลังไปหน้า

4.      ถ้าเป็นสระสนธิ ศัพท์ตัวหลังจะขึ้นต้นด้วยตัว   อ

5.      มีการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ตามหลักที่จะกล่าวต่อไป

 

การสนธิมีอยู่    3   อย่างคือ   สระสนธิ  พยัญชนะสนธิ และนฤตหิตสนธิ

1.      สระสนธิ  คือการนำคำบาลีสันสกฤต      มาสนธิกับคำที่ขึ้นต้ตด้วย สระ มีหลักดังนี้

1.1    ตัดสระท้ายคำหน้า ให้ใช้สระคำหลัง เช่น

หิมะ+อาลัย        ตัด ะ     ใช้          สนธิเป็น     หิมาลัย

ชล+อาลัย           ตัด ะ      ใช้         สนธิเป็น      ชลาลัย

วชิร+อาวุธ     เป็น  วชิราวุธ             วร+โอกาส    เป็น  วโรกาส

ขีปน+อาวุธ    เป็น   ขีปนาวุธ           ภุช+องค์       เป็น  ภุชงค์

มหา+ไอศวรรย์เป็น    มไหศวรรย์    มหา+อรรณพ  เป็นมหรรณพ

1.2    ตัดสระท้ายคำหน้า ใช้สระหน้าคำหลัง    

ถ้าสระหน้าของคำหลังเป็น  อะ  ให้เปลี่ยนเป็น  อา   เช่น 

     ราช+อธิราช     เป็น     ราชาธิราช

     ประชา+อธิปไตย    เป็น  ประชาธิปไตย

     เทศ+อภิบาล       เป็น   เทศาภิบาล

ถ้าสระหน้าของคำหลังเป็น  อิ     ให้เปลี่ยนเป็น  เอ   เช่น

     ราม+อิศวร      เป็น     ราเมศวร

      ปรม+อินทร์    เป็น    ปรมินทร์

      นร+อินทร์      เป็น     นรินทร์

      มหา+อิสี       เป็น    มเหสี

       นร+อิศวร     เป็น    นเรศวร

 

ยกเว้น ภูมิ+อินทร์    เป็น  ภูมินทร์                      กรี+อินทร์     เป็น    กรินทร์

            มุนิ+อินทร์    เป็น  มุนินทร์                      โกสี+อินทร์  เป็น   โกสินทร์

 

ถ้าสระหน้าของคำหลังเป็น   อุ    ให้เปลี่ยนเป็น    อู  หรือ  โอ  เช่น

ราช+อุปโภค   เป็น   ราชูปโภค                ชล+อุทร         เป็น     ชโลธร

     ราช+อุบาย      เป็น    ราโชบาย                ราช+อุปถัมภ์   เป็น  ราชูปถัมภ์

     นย+อุบาย       เป็น     นโยบาย                 คุณ+อุปการ     เป็น   คุณูปการ

 

ยกเว้น    มัคคุ+อุเทศก์     เป็น   มัคคุเทศก์

 

       1.3   เปลี่ยนสระที่ท้ายคำหน้า  อิ   อี  เป็น     

                                                        อุ   อู  เป็น     ว  

              แล้วจึงสนธิตามหลักในข้อ1.และ2.    

ตัวอย่าง     การเปลี่ยนสระที่ท้ายคำหน้า  อิ   อี  เป็น     ย     เช่น

            รติ+อารมณ์   เปลี่ยน อิ   เป็น      ได้   รตย    สนธิกับ   อารมณ์    เป็น  รตยารมณ์

            มติ+อธิบาย       เป็น   มตย+อธิบาย     สนธิเป็น    มตยาธิบาย

             อัคคี+โอภาส   เป็น   อตย+โอภาส      สนธิเป็น   อัคโยภาส

อธิ+อาศัย         เป็นอธย+อาศัย            สนธิเป็น   อธยาศัย   หรือ  อัธยาศัย

 

ยกเว้น หัตถี+อาจารย์ เป็นหัตถาจารย์          ศักดิ+อานุภาพ  เป็น  ศักดานุภาพ

 

ตัวอย่าง     การเปลี่ยนสระที่ท้ายคำหน้า  อุ    อู  เป็น     ว   เช่น

             ธนู+อาคม      เป็น  ธนว+อาคม        สนธิเป็น    ธนวาคม   หรือธันวาคม

             จักขุ+อาพาธ   เป็น จักขว+อาพาธ    สนธิเป็น    จักขวาพาธ

             สินธุ+อานนท์  เป็น  สินธว+อานนท์   สนธิเป็น  สินธวานนท์

 

2.  พยัญชนะสนธิ   คือคำภาษาบาลี  สันสกฤตที่นำมาสนธิกับพยัญชนะ  มีหลักดังนี้

     2.1  คำที่ลงท้ายด้วย ส   สนธิกับพยัญชนะ  ให้เปลี่ยน ส เป็น  โ   เช่น

            มนัส+ธรรม   เป็น  มโนธรรม         มนัส+มัย   เป็น   มโนมัย

            มนัส+คติ      เป็น   มโนคติ             ศิรัส+เวฐน์   เป็นศิโรเวฐน์

          รหัส+ฐาน     เป็น   รโหฐาน

     2.2  คำที่ขึ้นต้นด้วย   ทุส    และ  นิส  สนธิกับพยัญชนะ   ให้เปลี่ยน     เป็น    เช่น

             ทุส+ชน เป็น  ทุรชนหรือ ทรชน           ทุส+กันดาร   เป็น     ทุรกันดาร

             ทุส+พิษ  เป็น   ทุรพิษหรือ  ทรพิษ       ทุส+กรรม      เป็น      ทุรกรรมหรือทรกรรม

นิส+คุณ  เป็น   นิรคุณ                            นิร+อาศ       เป็น      นิราศ

นิส+เทศ  เป็น   นิรเทศ                            นิส+โทษ     เป็น     นิรโทศ

3.นฤคหิตสนธิ  คือคำบาลีสันสกฤตที่นำมาสนธิกับนฤคหิต  มีหลักดังนี้

3.1  นฤคหิต  สนธิกับสระ เปลี่ยน ๐ เป็นพยัญชนะท้ายวรรคนั้นก่อนการสนธิ เช่น

       สนธิกับวรรค กะ เปลี่ยน   ๐   เป็น     เช่น

                              สํ+กร เป็น สังกร         สํ+เกต เป็น สังเกต      สํ+ขาร    เป็น   สังขาร

      สนธิกับวรรค จะ  เปลี่ยน ๐  เป็น    เช่น

                  สํ+จร เป็น  สัญจร       สํ+ชาติ เป็น สัญชาติ    สํ+ญา   เป็น  สัญญา

สนธิกับวรรค   ฏะ  เปลี่ยน ๐  เป็น       เช่น

            สํ+ฐาน   เป็น  สัณฐาน      สํ+ฐิติ    เป็น   สัณฐิติ

สนธิกับวรรค   ตะ  เปลี่ยน ๐  เป็น  น    เช่น

สํ+ดาน  เป็น  สันดาน  สํ+โดษ  เป็น  สันโดษ   สํ+นิวาส  เป็น  สันนิวาส

สนธิกับวรรค   ปะ  เปลี่ยน ๐  เป็น   ม   เช่น

            สํ+บัติ   เป็น  สมบัติ      สํ+บูรณ์    เป็น  สมบูรณ์    สํ+ภพ  เป็น  สมภพ

สนธิกับเศษวรรค      เปลี่ยน ๐  เป็น         ก่อนสนธิเช่น

            สํ+โยค   เป็น สังโยค     สํ+วร   เป็น  สังวร     สํ+หรณ์   เป็น สังหรณ์

คำมูล

โพสต์3 ก.ย. 2559 21:29โดยไอหยุ หมัดชูดชู   [ อัปเดต 3 ก.ย. 2559 21:29 ]

   คำมูล คือ คำคำเดียวที่ไม่ได้ประสมกับคำอื่นเป็นคำพื้นฐานที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง มีความหมายชัดเจนซึ่งอาจเป็นคำไทยแท้หรือคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ และจะเป็นคำ “พยางค์” เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ตัวอย่าง เช่น

ดู ไม่ พ่อ แม่ เด็ก กิน ตก มี ๑ พยางค์
สิงโต (สิง – โต) มี ๒ พยางค์
จักรวาล (จัก – กระ – วาน) มี ๓ พยางค์
มหาวิทยาลัย (มะ – หา – วิด – ทะ – ยา – ลัย) มี ๖ พยางค์ เป็นต้น
ชนิดของคำมูล 
คำมูลแบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ
๑. คำมูลพยางค์เดียว เป็นคำที่ออกเสียงเพียงครั้งเดียว และมีความหมายชัดเจนในตัวเอง เช่น คำที่มาจากคำไทยแท้ ได้แก่ พ่อ แม่ ครู ลูก เต่า น้อง บ้าน เพลง ชาม พ่อ ยืน หิว ยิ้ม สุข ใน
คำที่มาจากภาษาอื่น ได้แก่ ฟรีไมล์ ธรรม เกี๊ยะ เกี๊ยว เจี๊ยะ แป๊ะ ซิ้ม เมตร ปอนด์ ฟุต
๒. คำมูลหลายพยางค์ เป็นคำที่ออกเสียงตั้งแต่ ๒ ครั้งขึ้นไป ถ้าแยกพยางค์ออกแต่ละพยางค์จะไม่มีความหมาย หรือมีความหมายเพียงพยางค์ใดพยางค์หนึ่ง เช่น
ถนน นาฬิกา กระเป๋า กางเกง กระดาษ ศิลปะ กำมะลอ วิทยุ กระต่าย แจกัน กระจง ตะไคร้ จิ้งหรีด เขม่น กระหยิ่ม สะดุด ละล่ำละลัก
         

 ข้อสังเกตคำมูล
๑. ประกอบด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมาย เช่น จิ้งหรีด จะเห็นว่าพยางค์ “จิ้ง” และ “หรีด” ต่างก็ไม่มีความหมาย
๒. ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายเพียงบางพยางค์ เช่น กิริยา
จะเห็นว่าพยางค์ “ยา” มีความหมายเพียงพยางค์เดียว
๓. ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมาย แต่ความหมายของคำนั้นไม่มีเค้าความหมายของแต่ละพยางค์เหลืออยู่เลย

คำซ้อน

โพสต์3 ก.ย. 2559 21:28โดยไอหยุ หมัดชูดชู

    คำซ้อน  หมายถึง การสร้างคำอีกรูปแบบหนึ่ง มีวิธีการเช่นเดียวกับการประสมคำ จึงอนุโลมให้เป็นคำประสมได้ ความแตกต่างระหว่างคำประสมทั่วไปกับคำซ้อน คือ คำซ้อนจะสร้างคำโดยนำคำที่มีความหมายคู่กันหรือใกล้เคียงกันมาซ้อนกัน คำที่มาซ้อนกันจะทำหน้าที่ขยายและไขความซึ่งกันและกันและทำให้เสียงกลมกลืนกันด้วย เช่น

คำซ้อนที่มีเสียงพยัญชนะเดียวกัน ได้แก่ วนเวียน ชุกชุม ร่อแร่ ฯลฯ

คำซ้อนที่ใช้ความหมายตรงข้าม ได้แก่ หนักเบา เป็นตาย มากน้อย ฯลฯ

คำซ้อนที่ใช้คำความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ได้แก่ บ้านเรือน อ้วนพี ฯลฯ

คำซ้อน 4 คำ ที่มีคำที่ 1 และคำที่ 3 เป็นคำ ๆ เดียวกัน ได้แก่ ผู้หลักผู้ใหญ่ ร้อนอกร้อนใจ เข้าได้เข้าไป

คำซ้อนที่เป็นกลุ่มคำมีเสียงสัมผัส ได้แก่ เก็บหอมรอมริบ ข้าวยากหมากแพง รู้จักมักคุ้นฯลฯ

 

ความมุ่งหมายของการสร้างคำซ้อน

เพื่อเน้นความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยความหมายยังคงเดิม เช่น ใหม่เอี่ยม ละเอียดลออ เสื่อสาด

ทำให้เกิดความหมายใหม่ในเชิงอุปมาอุปไมย เช่น ตัดสิน เบิกบาน เกี่ยวข้อง

การซ้อนคำ เป็นการนำคำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายกัน หรือประเภทเดียวกันมาเรียงซ้อนกัน เมื่อซ้อนคำแล้วทำให้เกิดความหมายใหม่ขึ้น แต่ยังคงเค้าความหมายเดิมอยู่ หรือความหมายอาจไม่เปลี่ยนไป แต่ความหมายของคำหน้าจะชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น บ้านเรือน ทรัพย์สิน คับแคบ เป็นต้น คำที่เกิดจากการซ้อนคำเช่นนี้เรียกว่าซ้อนคำ

คำที่ประกอบขึ้นด้วยคำ 2 คำขึ้นไปที่มีความหมายทำนองเดียวกัน เช่น จิตใจ ถ้วยชาม ข้าทาส ขับไล่ ขับกล่อม ค่างวด ฆ่าแกง หยูกยา เยียวยา แก่นสาร ทอดทิ้ง ท้วงติง แก้ไข ราบเรียบ เหนื่อยหน่าย ทำมาค้าขาย ชั่วนาตาปี

คำที่ประกอบขึ้นด้วยคำ 2 คำขึ้นไปที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น หอมเหม็น ถูกแพง หนักเบา ยากง่าย มีจน ถูกผิด ชั่วดีมีจน หน้าไหว้หลังหลอก

คำซ้อนที่ประกอบด้วยคำ 2 คำขึ้นไปที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเสียงเดียวกันหรือมีเสียงสระเข้าคู่กัน เช่น เกะกะ เปะปะ รุ่งริ่ง โยกเยก กรอบแกรบ กรีดกราด ฟืดฟาด มากมายก่ายกอง อีลุ่ยฉุยแฉก

 

อาจจำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดตามหน้าที่ ได้แก่   คำซ้อนเพื่อเสียง    คำซ้อนเพื่อความหมาย

        คำซ้อนเพื่อเสียง เป็นการนำคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันมาซ้อนกัน เพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้น และมีเสียงคล้องจองกัน ทำให้เกิดความไพเราะขึ้น คำซ้อนเพื่อเสียงนี้บางทีเรียกว่าคำคู่ หรือคำควบคู่

นำคำที่มีพยัญชนะต้นเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่เสียงสระ นำมาซ้อนหรือควบคู่กัน เช่น

เร่อร่า เซ่อซ่า อ้อแอ้ จู้จี้            เงอะงะ จอแจ ร่อแร่ ชิงช้า          จริงจัง ทึกทัก หมองหมาง ตึงตัง

นำคำแรกที่มีความหมายมาซ้อนกับคำหลัง ซึ่งไม่มีความหมาย เพื่อให้คล้องจองและออกเสียงได้สะดวก โดยเสริมคำข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้ ทำให้เน้นความเน้นเสียงได้หนักแน่น โดยมากใช้ในคำพูด เช่น          กวาดแกวด กินแกน เดินแดน         มองเมิง ดีเด่ ไปเปย

นำคำที่มีพยัญชนะต้นต่างกันแต่เสียงสระเดียวมาซ้อนกันหรือควบคู่กัน เช่น เบ้อเร่อ แร้นแค้น จิ้มลิ้ม

ออมชอม อ้างว้าง เรื่อยเจื้อย ราบคาบ

 

นำคำที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน สระเสียงเดียวกัน แต่ตัวสะกดต่างกันมาซ้อนกัน หรือควบคู่กัน เช่น

ลักลั่น อัดอั้น หย็อกหย็อย

คำซ้อนบางคำ ใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงมาซ้อนกันและเพิ่มพยางค์เพื่อให้ออกเสียงสมดุลกัน เช่น

ขโมยโจร เป็น ขโมยขโจร         เกา เป็น สะกิดสะเกา          จมูกปาก เป็น จมูกจปาก

คำซ้อนบางคำอาจจะเป็นคำซ้อนที่เป็นคำคู่ ซึ่งมี 4 คำ และมีสัมผัสคู่กลางหรือคำที่ 1 และคำที่ 3 ซ้ำกัน คำซ้อนในลักษณะนี้เป็นสำนวนไทย ความหมายของคำจะปรากฏที่คำหน้าหรือคำท้าย หรือปรากฏที่คำข้างหน้า 2 คำ ส่วนคำท้าย 2 ตัว ไม่ปรากฏความหมาย เช่น

เกะกะระราน   กระโดดโลด    บ้านช่องห้องหอ

เรือแพนาวา     ข้าเก่าเต่าเลี้ยง    กตัญญูรู้คุณ

ผลหมากรากไม้   โกหกพกลม   ติดอกติดใจ

 

คำซ้อนเพื่อความหมาย เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันเล็กน้อยหรือไปในทำนองเดียวกัน หรือต่างกันในลักษณะตรงข้าม เมื่อประกอบเป็นคำซ้อนจะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

1. ความหมายอยู่ที่คำใดคำหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง คำอื่นหรือกลุ่มอื่นไม่ปรากฏความหมาย เช่น หน้าตา ปากคอ เท็จจริง ดีร้าย ผิดชอบ ขวัญหนีดีฝ่อ ถ้วยชามรามไห จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน

2. ความหมายอยู่ที่ทุกคำแต่เป็นความหมายที่กว้างออกไป เช่น   เสื้อผ้า ไม่ได้หมายเฉพาะเสื้อกับผ้า แต่รวมถึงเครื่องนุ่งห่ม  เรือแพ ไม่ได้หมายเฉพาะเรือกับแพ แต่รวมถึงยานพาหนะทางน้ำทั้งหมด

ข้าวปลา ไม่ได้หมายเฉพาะข้าวกับปลา แต่รวมถึงอาหารทั่วไป

พี่น้อง ไม่ได้หมายเฉพาะพี่กับน้อง แต่รวมถึงญาติทั้งหมด

เห็ดเป็ดไก่ หมายรวมถึงสิ่งที่ใช้เป็นอาหารทั้งหมด

3. ความหมายอยู่ที่คำต้นกับคำท้ายรวมกัน เช่น เคราะห์หามยามร้าย ( เคราะห์ร้าย ) ชอบมาพากล (ชอบกล) ฤกษ์งามยามดี (ฤกษ์ดี) ยากดีมีจน (ยากจน)

4. ความหมายอยู่ที่คำต้นหรือคำท้าย ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกัน เช่น ชั่ว ดี (ชั่วดีอย่างไรเขาก็เป็นเพื่อนฉัน) ผิดชอบ (ความรับผิดชอบ) เท็จจริง (ข้อเท็จจริง) 

คำซ้ำ

โพสต์3 ก.ย. 2559 21:26โดยไอหยุ หมัดชูดชู

คำซ้ำ คือ การนำคำประเภทเดียวกัน ชนิดเดียวกันมาซ้ำ ๆ กัน มักจะมีไม้ยมก (ๆ) เป็นเครื่องสังเกต เช่น แดง ๆ ดำ ๆ ดี ๆ คำซ้ำมีหลายประเภท คือ

๑. ซ้ำคำเพื่อบอกความเป็นพหูพจน์ เช่น หนุ่ม ๆ สาว ๆ เด็ก ๆ พ่อ ๆ แม่ ๆ

๒. ซ้ำคำเพื่อเน้นน้ำหนักให้มากขึ้น เช่น ขาว ๆ สวย ๆ ดี ๆ เลว ๆ

๓. ซ้ำคำเพื่อบอกความไม่แน่ใจ เช่น หลัง ๆ ท้าย ๆ นั่งอยู่ข้างหลัง ๆ

๔.  ซ้ำคำเพื่อแยกออกเป็นส่วน ๆ เช่น ตู้ ๆ ชิ้น ๆ เรื่อง ๆ

๕. ซ้ำคำเพื่อให้เกิดภาพพจน์ เช่น หม้อข้าวเดือดปุด ๆ เขาพยักหน้าหงึก ๆ เธอใจสั่นริก เป็นต้น

ฉะนั้นคำซ้ำ จึงหมายถึงเกิดจากการสร้างคำขึ้นใหม่  โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกัน  มีความหมายเปลี่ยนแปลงไป  อาจเน้นหนักขึ้น  เบาลงหรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น  ในการเขียนใช้ไม้ยมกแทนคำหลังคำส่วนมากใช้เป็นคำซ้ำได้  มีเฉพาะบางคำที่เป็นคำซ้ำไม่ได้  บางคำต้องเป็นคำซ้ำเท่านั้น

คำที่เป็นคำซ้ำไม่ได้

–  กริยาช่วย   เช่น   จะ   คง   ได้   อาจ

–  บุพบท   เช่น   ของ   แห่ง   ด้วย   กับ

–  สันธาน  เช่น   เมื่อ   หลังจาก   ตั้งแต่   และ   แต่   หรือ   จึง

 

ลักษณะคำซ้ำ

๑.   คำที่ต้องเป็นคำซ้ำ  ส่วนมากเป็นคำวิเศษณ์   เช่น   หยิมๆ   หลัดๆ   ดิกๆ    ยองๆ

๒.  นำคำซ้อนมาแยกเป็นคำซ้ำ เช่น เจ็บไข้   เป็น   เจ็บๆ ไข้ๆ เลียบเคียง  เป็น  เลียบๆ เคียงๆ อิดเอื้อน  เป็น อิดๆ เอื้อนๆ

๓.  นำคำซ้ำมาประกอบเป็นคำซ้อน  เช่น     เปรี้ยวๆ เค็มๆ       นั่งๆ นอนๆ    เราๆ ท่านๆ

๔.  คำซ้ำมีความหมายผิดไปจากคำมูลเดิม แต่ยังคงมีเค้าของความหมายเดิม

๔.๑  บอกพหูพจน์  คำเดิมอาจเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้  เมื่อเป็นคำซ้ำกลายเป็นพหูพจน์อย่างเดียว  เช่น เด็กๆ เล่นฟุตบอล  หนุ่มๆ มากับสาวๆ

๔.๒  บอกความไม่เจาะจง  การจำแนกเป็นพวก และความเป็นพหูพจน์ เช่นเชิญผู้ใหญ่ๆ ไปทางโน้น เด็กๆ มาทางนี้

๕.  บอกความหมายใหม่ ไม่เนื่องกับความหมายของคำมูลเดิมเช่น  พื้นๆ  (ธรรมดา)  กล้วยๆ  (ง่าย)  น้องๆ  (เกือบ, ใกล้, คล้าย)  อยู่ๆ ( เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว )  งูๆปลาๆ

๖.  คำที่ออกเสียงซ้ำกัน ไม่ใช่คำซ้ำเสมอไป  คำซ้ำจะต้องเป็นคำมูลที่ออกเสียงซ้ำกันแล้วเกิดคำใหม่ขึ้นและมีความหมายเปลี่ยนไป  คำซ้ำใช้ไม้ยมกแทนคำมูลหลังคำที่ออกเสียงซ้ำกันในบางกรณีเป็นคนละคำและอยู่ต่างประโยคกัน  ไม่จัดเป็นคำซ้ำและใช้ไม้ยมกแทนคำหลังไม่ได้  เช่น  เขาทำงานเป็นเป็นเพราะเธอสอนให้   เขาจะไปหาที่ที่สงบอ่านหนังสือ

คำประสม

โพสต์3 ก.ย. 2559 21:25โดยไอหยุ หมัดชูดชู

      คำประสม คือ คำที่สร้างจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป เกิดเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่ แต่ยังมีเค้าของความหมายเดิม ส่วนมากมักเป็นการประสมคำระหว่างคำไทยกับคำไทยแต่อาจมีคำประสมบางคำที่ประสมระหว่างคำไทยกับคำภาษาอื่น

 ลักษณะสำคัญของคำประสม

๑. .เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาประสมกัน แล้วเกิดความหมายใหม่แต่ยังมีเค้าความหมายเดิมอยู่เช่น

พ่อตา หมายถึง พ่อของภรรยา

พ่อ หมายถึง สามีของแม่

ตา หมายถึง พ่อของแม่

ลูกน้ำ หมายถึง ลูกของยุง

ลูก หมายถึง บุตร

น้ำ หมายถึง ของเหลว

๒. สามารถแยกเป็นคำๆได้ และคำที่แยกได้แต่ละคำมีความหมายต่างกัน เมื่อนำมารวมกันความหมายต่างจากคำเดิม เช่น

แม่ หมายถึง หญิงผู้ให้กำเนิด

บ้าน หมายถึงที่อยู่อาศัย

แม่บ้าน หมายถึง หญิงผู้จัดการงานในบ้าน

คอ หมายถึง ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับตัว

ห่าน หมายถึง ชื่อนกจำพวกเป็ด คอยาว

คอห่าน หมายถึง ส่วนของโถส้วม

๓. คำที่มาประสมกันจะเป็นคำมูลในภาษาใดก็ได้ เช่น

เข็มทิศ (ไทย + สันสกฤต)

รถเก๋ง (บาลี + จีน)

ห้องโชว์ (ไทย + อังกฤษ)

ราชวัง (บาลี + ไทย)

ปักษ์ใต้ (สันสกฤต + ไทย)

โปรแกรมหนัง (อังกฤษ + ไทย)

๔. ประสมที่เกิดจากคำมูล ซึ่งมีลักษณะเป็นการย่อคำหลาย ๆ คำ ส่วนมากมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า    นัก   ชาว    ช่าง    หมอ    การ    ความ    ผู้    ของ    เครื่อง    เช่น

นัก                 นักร้อง   นักเขียน   นักเรียน    นักสู้  ฯลฯ

ชาว                        ชาวบ้าน   ชาวเมือง   ชาวนา    ชาววัง  ฯลฯ

ช่าง               ช่างไม้      ช่างเสริมสวย   ช่างไฟฟ้า ฯลฯ

หมอ              หมอดู    หมอความ    หมอผี   หมอนวด  ฯลฯ

การ               การบ้าน    การเมือง   การไฟฟ้า   การคลัง   ฯลฯ

ความ             ความดี   ความชั่ว    ความสุข   ความทุกข์   ฯลฯ

ผู้                  ผู้ใหญ่    ผู้ดี    ผู้อำนวยการ    ผู้น้อย   ผู้ร้าย  ฯลฯ

ของ               ของใช้    ของไหว้    ของเล่น    ของชำร่วย  ฯลฯ

เครื่อง                      เครื่องหมาย    เครื่องบิน    เครื่องมือ  ฯลฯ

ที่                 ที่นอน   ที่ดิน     ที่เขี่ยบุหรี่   ที่เที่ยว    ที่พัก   ฯลฯ

๕. ประสม จะเป็นคำชนิดใดประสมกันก็ได้ เช่น

นาม + นาม     เช่น      แม่น้ำ    พ่อบ้าน     แปรงสีฟัน  ฯลฯ

นาม + กริยา    เช่น   แบบเรียน    เข็มกลัด   ยาดม  ฯลฯ

กริยา + นาม    เช่น   กินใจ    เล่นตัว    เข้าใจ   ได้หน้า  ฯลฯ

นาม + วิเศษณ์  เช่น น้ำแข็ง    ถั่วเขียว   หัวหอม  ฯลฯ

กริยา + กริยา   เช่น   ต้มยำ    พิมพ์ดีด   จดจำ   ท่องจำ  ฯลฯ

บุพบท + นาม   เช่น  ข้างถนน    นอกคอก   ต่อหน้า  ฯลฯ

วิเศษณ์ + วิเศษณ์  เช่น   อ่อนหวาน   หวานเย็น  ฯลฯ

วิเศษณ์ + คำนาม   เช่น  อ่อนข้อ   สองหัว ฯลฯ

หลักการสังเกตคำประสม

คำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไปรวมกัน เกิดคำใหม่ มีความหมายใหม่ เป็นคำประสม  ตัวอย่าง เช่น

พัดลม   หมายถึง  เครื่องพัดให้เย็นด้วยแรงไฟฟ้า

มือแข็ง  หมายถึง  ไม่ค่อยไหว้คนง่ายๆ

เสื้อกล้าม  หมายถึง เสื้อชั้นในชาย

ลูกน้อง  หมายถึง ผู้ที่คอยติดสอยห้อยตาม

คำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไปรวมกัน ไม่เกิดความหมายใหม่ ไม่ใช่คำประสม  ตัวอย่างเช่น

ลมพัด   หมายถึง   ลมโชยมา

มือขาด หมายถึง   มือถูกสิ่งใดสิ่งหนึ่งตัดขาด

คอเจ็บ หมายถึง  คออักเสบ

สรุป

 

คำประสม คือ คำมูลสองคำขึ้นไปประสมกัน เกิดคำใหม่ มีความหมายใหม่ เช่น

น้ำ + ยา + ล้าง + จาน     เป็น   น้ำยาล้างจาน

ไม้ + แขวน + เสื้อ         เป็น   ไม้แขวนเสื้อ

คำมูลสองคำขึ้นไปรวมกันไม่เกิดคำใหม่ ไม่เกิดความหมายใหม่ ไม่ใช่คำประสม เช่น

หางเสือ หมายถึง หางของเสือ เป็นวลีไม่ใช่คำประสม

หางเสือ หมายถึง หางเสือเรือ เป็นคำประสม

ผ้าขาว  หมายถึง   ผ้าสีขาว เป็นวลีไม่ใช่คำประสม

น้ำขาว  หมายถึง น้ำเมา    เป็นคำประสม

ปูตาย   หมายถึง ปูแสดงอาการตาย เป็นประโยค ไม่ใช่คำประสม

ปูม้า   หมายถึง ปูทะเลชนิดหนึ่ง เป็นคำประสม

ข้อสังเกตคำประสม
๑) คำประสมจะเป็นวิทยาการสมัยใหม่ เช่น เตารีด หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ พัดลม ตู้เย็น เครื่องอบผ้า เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น ฯลฯ
๒) คำประสมเป็นคำเดียวกันจะแยกออกจากกันไม่ได้ ความหายจะไม่เหมือนเดิม เช่น นางแบบ  รับรอง  มนุษย์กบ  คำประสมจะเป็นคำใหม่เกิดขึ้น
๓) วิธีสังเกตค่ำประสมนักจะมีลักษณะนามให้เห็นอย่างเด่นชัด เช่น ใบนี้  คนนี้ ชุดนี้ ฯลฯ   เช่น วันนี้ไม่มีคนใช้คนนี้เลย  (คำประสม)
๔) คำประสมที่ขึ้นตนด้วยคำว่า “ลูก แม่” ต้องหมายถึงคนจึงจะเป็นคำประสม เช่น ลูกเสือ (คน)   แม่มด (คน)   ถ้าเป็นลูกของเสือ แม่ของมด  จะเป็นคำเรียงกันธรรมดา  ยกเว้น ลูกน้ำเป็นคำประสม  เพราะมีความหมายเปลี่ยนไป ไม่ใช่ลูกของน้ำ แต่เป็นลูกของยุง เป็นต้น

1-5 of 5