สาระที่ ๒ การเขียน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

สาระที่ ๒    การเขียน

มาตรฐาน ท ๒.  ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูล 

                              สารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ             

ตัวชี้วัด

ผู้เรียนรู้อะไร

ผู้เรียนทำอะไรได้

 
. คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด การคัดลายมือด้วยตัวบรรจงต้องคัดให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด  รวมทั้งต้องคำนึงถึงการเว้นช่องไฟ  ขนาดตัวอักษรมีความสม่ำเสมอ การวางสระ วรรณยุกต์ถูกต้อง สะอาด สวยงาม

คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดได้ถูกต้องตามรูปแบบ

 คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
๒. เขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำ  ถูกต้องชัดเจน เหมาะสม และสละสลวย 
 ( ONET 60 )

การเขียนสื่อสารในรูปแบบใดๆผู้เขียนต้องเขียนโดยใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านรับรู้และเข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นๆ

เขียนแนะนำตนเอง สถานที่สำคัญ เขียนบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสมและสละสลวย

 

 เขียนสื่อสาร
. เขียนบรรยายประสบการณ์
    โดยระบุสาระสำคัญและ

     รายละเอียดสนับสนุน

การเขียนบรรยายประสบการณ์เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิดต้องระบุสาระสำคัญและรายละเอียดสนับสนุนให้ชัดเจนโดยใช้ภาษาของผู้เขียนเอง

เขียนบรรยายประสบการณ์โดยระบุสาระสำคัญและรายละเอียดสนับสนุนชัดเจน

 เขียนบรรยายประสบการณ์

. เขียนเรียงความ

การเขียนเรียงความเชิงพรรณนาเป็นการเขียนเรื่องราวตามประสบการณ์หรือจินตนาการของผู้อื่นอย่างมีรูปแบบและหลักเกณฑ์ ผู้เขียนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำ สำนวน โวหารชนิดต่าง ๆเขียนเรียงความเชิงพรรณนาได้

เขียนเรียงความเชิงพรรณนาได้

 เขียนเรียงความ

. เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน

การเขียนย่อความที่ดีต้องรู้หลักและรูปแบบการเขียน จึงจะสามารถเขียนย่อความจากเรื่องด้วยภาษาของตนเองได้อย่างกระชับ ชัดเจน ครบถ้วน

เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่านได้

 เขียนย่อความ
. เขียนแสดงความคิดเห็น

    เกี่ยวกับสาระจากสื่อที่ได้รับ

การเขียนแสดงความคิดเห็นเป็นการสื่อความคิด/มุมมองของผู้เขียนที่มีต่อสาระที่ได้รับจากสื่อต่างๆ

เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระที่ได้รับจากสื่อ

 เขียนแสดงความคิดเห็น
๗. เขียนจดหมายส่วนตัวและ

     จดหมายกิจธุระ

การเขียนจดหมายส่วนตัวและจดหมายกิจธุระเป็นการเขียนสื่อสารที่มีรูปแบบเฉพาะ

การเขียนจดหมายที่ดีผู้เขียนต้องคำนึงถึงรูปแบบหลักเกณฑ์และความถูกต้องเหมาะสมของจดหมายแต่ละชนิด จึงจะทำให้เขียนสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เขียนจดหมายส่วนตัวและจดหมายกิจธุระได้

 

การเขียนจดหมายส่วนตัว

การเขียนจดหมายกิจธุระ


. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า และโครงงาน

 

การเขียนรายงานเป็นการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม ศึกษา ค้นคว้า อย่างเป็นระบบ มีรูปแบบการเขียนเฉพาะ

เขียนรายงาน การศึกษาค้นคว้า
และรายงานโครงงานได้

 

 เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า

๙. มีมารยาทในการเขียน

มารยาทการเขียนคือคุณลักษณะของการเขียนที่มีความเหมาะสมโดยคำนึงถึงภาษาที่ใช้ในงานเขียน  โอกาส  บุคคล  สถานที่เขียน  รวมทั้งความสะอาด  ประณีตของงานเขียน

เขียนอย่างมีมารยา

 มารยาทในการเขียน
หน้าเว็บย่อย (9): writing1 writing2 writing3 writing4 writing5 writing6 writing7 writing8 writing9
Comments