ตัวชี้วัด
|
ผู้เรียนรู้อะไร
|
ผู้เรียนทำอะไรได้
|
กิจกรรม |
๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองได้ถูกต้อง เหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน
( ONET 60 )
|
การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วต้องคำนึงถึงอักขรวิธี การเว้นวรรคตอนให้เหมาะสม รวมทั้งท่าทางและมารยาทการในการอ่าน
ส่วนการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองผู้อ่านต้องออกเสียงให้ถูกต้องตามลักษณะคำประพันธ์และทำลีลาน้ำเสียงให้สอดคล้องกับเรื่องที่อ่าน
|
อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและร้อยกรองได้เหมาะสมกับลักษณะงานเขียนที่อ่าน
|
อ่านได้ไพเราะเสนะโสต
การอ่านบทร้อยกรอง
|
๒. จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน
|
การระบุคำ/ประโยคสำคัญของเรื่องที่อ่านและนำมาเรียบเรียงใหม่ก็จะทำให้สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องนั้นได้
|
อ่านจับใจความสำคัญได้
|
อ่านจับใจความ
กิจกรรมที่ ๑
กิจกรรมที่ ๒
กิจกรรมที่ ๓ |
๓. ระบุเหตุและผล และ
ข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็นจาก เรื่องที่อ่าน
|
ข้อเท็จจริงเป็นลักษณะของเหตุการณ์ที่เกิดแล้ว
หรือมีเนื้อหาแสดงกฎเกณฑ์หรือข้อมูลที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว
ส่วนข้อคิดเห็นเป็นลักษณะของเนื้อความที่แสดงถึงความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติส่วนตัว การจำแนกข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็นทำให้นักเรียนสามารถอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
|
จำแนกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านได้พร้อมระบุสาเหตุและผลที่ได้รับ
|
การหาข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น
กิจกรรมที่ ๑ |
๔. ระบุและอธิบายคำเปรียบเทียบ และคำที่มีหลายความหมายใน บริบทต่างๆ
จากการอ่าน
|
คำบางคำมีหลายความหมายทั้งความหมายโดยตรงและความหมายเชิงเปรียบเทียบ
จะต้องพิจารณาบริบทของคำนั้น จึงจะแปลความหมายได้ถูกต้อง
|
แปลความหมายของคำ
ได้ถูกต้องตามบริบท
|
พินิจคำนำไปใช้
กิจกรรมที่ ๑ |
๕. ตีความคำยากในเอกสาร วิชาการ
โดยพิจารณาจากบริบท
|
การตีความคำยากในเอกสารวิชาการจำเป็นต้องแปลความโดยใช้ศัพทานุกรมและพิจารณาบริบทของความนั้น
ๆ ด้วยจึงจะได้ความหมายของคำที่ถูกต้องชัดเจน
|
แปลความและตีความหมายคำยากจากเอกสารวิชาการและให้คำจำกัดความได้
|
ศัพท์ทางวิชาการ |
๖. ระบุข้อสังเกตและความ สมเหตุสมผลของงานเขียน ประเภทชักจูงโน้มน้าวใจ
|
การอ่านงานเขียนประเภทชักจูงโน้มน้าวใจผู้อ่านต้องประเมินความน่าเชื่อถือของเนื้อความนั้นโดยใช้หลักการ เหตุผลที่พิสูจน์ได้และได้รับการยอมรับโดยทั่วไป
|
อ่านงานเขียนแล้วบอกเหตุผลได้ว่าควรเชื่อถือหรือไม่
|
งานเขียน ประเภทชักจูงโน้มน้าวใจ |
๗. ปฏิบัติตามคู่มือแนะนำวิธีการใช้งานของเครื่องมือ หรือเครื่องใช้ในระดับที่ยากขึ้น
|
เครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีวิธีการใช้ที่ซับซ้อน ผู้ใช้จะต้องศึกษาคู่มือ ที่แนะนำการใช้ให้เข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อน
เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการใช้และเกิดประโยชน์สูงสุด
|
อ่านคำแนะนำวิธีการใช้งานของเครื่องมือเครื่องใช้ในเอกสารคู่มือแล้วนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องเหมาะสม
|
คู่มือแนะนำวิธีการใช้งานของเครื่องมือ |