ตัวชี้วัด
|
ผู้เรียนรู้อะไร
|
ผู้เรียนทำอะไรได้
|
กิจกรรม |
๑. พูดสรุปใจความสำคัญของเรื่อง ที่ฟังและดู
|
การพูดสรุปความสำคัญได้
จะต้องมีความเข้าใจเรื่องที่ฟังและดูและใช้ภาษาที่ถูกต้อง กระชับ และเหมาะสมกับผู้ฟัง
|
พูดสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังและดูโดยใช้ภาษาที่ถูกต้อง
กระชับ และเหมาะสมกับผู้ฟัง
|
พูดสรุปใจความสำคัญ |
๒. เล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่ฟังและดู
|
การเล่าเรื่องย่อเป็นการพูดสรุปเรื่องราวโดยย่อเรื่องที่ฟังและดูให้ผู้อื่นฟังอย่างเป็นขั้นตอนใช้ภาษาที่กระชับชัดเจนเข้าใจง่าย
|
เล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่ฟังและดูอย่างเป็นขั้นตอนใช้ภาษาที่กระชับชัดเจนเข้าใจง่าย
|
เล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่ฟัง |
๓. พูดแสดงความคิดเห็นอย่าง สร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง
และดู
|
คิดเห็นอย่างสร้างสรรค์เป็นการสื่อความคิด/มุมมองของผู้พูดที่มีต่อเรื่องที่ฟังและดู ทั้งนี้จะต้องพูดอย่างมีลำดับขั้นตอน
ใช้เหตุผลแนวความคิด หลักการเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ๆ
|
พูดแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดูโดยมีลำดับขั้นตอน
ใช้เหตุผล แนวความคิด หลักการเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ๆ
|
พูดแสดงความคิดเห็น |
๔. ประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อ ที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ
|
การดูและฟังสิ่งต่างๆนั้นต้องใช้ดุลยพินิจในการดูและฟัง
พร้อมทั้งต้องประเมินความน่าเชื่อถือโดยใช้ประสบการณ์
หรืออ้างอิงแหล่งข้อมูลอย่างหลากหลาย
ในการประเมิน
|
ประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจโดยอ้างอิงจากประสบการณ์
หรืออ้างอิงแหล่งข้อมูลอย่างหลากหลาย
ในการประเมิน
|
พูดโน้มน้าวใจ
ประเมินความน่าเชื่อถือ
การวิเคราะห์วิจารณ์สื่อที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ |
๕. พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา
|
การพูดรายงานเป็นวิธีการนำเสนอข้อมูลอย่างมีขั้นตอน
โดยการใช้ภาษาที่มีความถูกต้องตามหลักภาษา
ชัดเจน สละสลวยเหมาะสมกับเนื้อหา
|
พูดรายงานเรื่องหรือประเด็น
ที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง
การดู และการสนทนาโดยการใช้ภาษา
ที่มีความถูกต้องตามหลักภาษา
ชัดเจน สละสลวยเหมาะสมกับเนื้อหา
|
พูดรายงาน |
๖. มีมารยาทในการฟัง
การดู และการพูด
|
มารยาทในการฟัง
ดูและการพูด
เป็นการปฏิบัติตนในสังคมได้อย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึง
การใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาส
บุคคล สถานที่
|
ปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีมารยาทในการฟัง
ดู และพูดได้อย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
|
มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด |