สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

สาระที่ ๔    หลักการใช้ภาษาไทย

มาตรฐาน  ท ๔.         เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา

                                        ภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ 

 

ตัวชี้วัด

ผู้เรียนรู้อะไร

ผู้เรียนทำอะไรได้

     
     กิจกรรมการเรียนรู้

๑.อธิบายลักษณะของเสียงในภาษาไทย

เสียงในภาษาไทยประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ การเข้าใจฐานที่เกิดและลักษณะของเสียงจะช่วยให้สามารถ ออกเสียงได้ชัดเจนถูกต้องมากขึ้น

อธิบายลักษณะของเสียงในภาษาไทยได้

 

๒.สร้างคำในภาษาไทย

การประสมคำ ซ้ำคำ ซ้อนคำและการใช้คำพ้อง เป็นวิธีการสร้างคำ เพื่อให้มีคำใช้มากขึ้นและสื่อความหมายได้กว้างขวางยิ่งขึ้นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

สร้างคำในภาษาไทยได้





รู้หลักการสร้างคำ คำประสม คำซ้อน คำพ้อง ตอน 2

รู้หลักการสร้างคำ คำประสม คำซ้อน คำพ้อง ตอน 3

๓.วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค


( ONET 60 )

คำในภาษาไทยมี 7 ชนิด ได้แก่ คำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ บุพบท สันธานและอุทานจึงจะต้องรู้ความหมายและหน้าที่ของคำแต่ละชนิดจึงจะสามารถจำแนกหน้าที่ของคำในประโยคได้

วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคได้



วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค 



ชนิดของคำ ๒


๔.วิเคราะห์ความแตกต่างของ ภาษาพูดและภาษาเขียน

ภาษาพูดเป็นภาษาที่ไม่เป็นทางการ มักใช้ในการสนทนาทั่วไปส่วนภาษาเขียนเป็นภาษาที่ใช้ในระดับทางการหรือเป็นแบบแผน

วิเคราะห์ความแตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียนได้โดยใช้การเปรียบเทียบ

วิเคราะห์ความแตกต่างของ ภาษาพูดและภาษาเขียน

๕.แต่งบทร้อยกรอง

 

บทร้อยกรองเป็นคำประพันธ์ที่มีฉันทลักษณ์สัมผัสคล้องจองใช้ในการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกและจินตนาการของผู้เขียนอย่างมีศิลปะ จึงจะต้องเข้าใจศิลปะการประพันธ์แต่ละชนิดและเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม

แต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานี ๑๑ ได้

 กาพย์ยานี 11

๖.จำแนกและใช้สำนวนที่เป็น คำพังเพยและสุภาษิต


      ( ONET 60 )


สุภาษิตและคำพังเพย เป็นสำนวนไทยที่มีลักษณะการใช้แตกต่างกัน สุภาษิตใช้ในเชิงสั่งสอนคำพังเพยใช้ในการเปรียบเทียบการกระทำจึงต้องจำแนกความแตกต่างและนำไปใช้ให้เหมะสม

จำแนกและใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิตได้

 จำแนกและใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต