หน่วยที่ ๑

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเขียน


การเขียนเป็นการสื่อสารด้วยอักษร ถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ของผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่เป็นทั้งศิลป์และศาสตร์ กล่าวคือ การเขียนต้องใช้ภาษาที่ไพเราะประณีต สื่อได้ทั้งอารมณ์ ความคิด ความรู้ ต้องใช้ศิลปะ ที่กล่าวว่าเป็นศาสตร์เพราะการเขียนทุกชนิดต้องประกอบด้วยความรู้ หลักการและวิธีการ


ความสำคัญของการเขียน



การเขียนมีความสำคัญสำหรับมนุษย์ ยิ่งโลกในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การเขียนกูยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วยซึ่งสามารถสรุปความสำคัญของการเขียนได้ดังนี้

๑. การเขียนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง
๒. การเขียนเป็นการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาของมนุษย์
๓. การเขียนเป็นเครื่องมือถ่ายทอดมรดกทางสติปัญญา
๔. การเขียนเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีและความเจริญรุ่งเรือง ในทางตรงกันข้ามก็ใช้เป็นเครื่องบ่อนทำลายได้เช่นกัน


จุดมุ่งหมายของการเขียน




การเขียนจะบรรลุผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่นั้น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การเขียนต้องมีจุดมุ่งหมายซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

๑) การเขียนเพื่อการเล่าเรื่อง > เป็นการนำเรื่องราวที่สำคัญมาถ่ายทอดเป็นข้อเขียน เช่น การเขียนเล่าประวัติ
๒) การเขียนเพื่ออธิบาย > เป็นการเขียนเพื่อชี้แจงอธิบายวิธีใช้ วิธีทำ ขั้นตอนการทำ เช่น อธิบายการใช้เครื่องมือต่างๆ
๓) การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น > เป็นการเขียนเพื่อวิเคราะห์ วิจารณ์ แนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
๔) การเขียนเพื่อโน้มน้าวใจ > เป็นการเขียนที่ผู้เขียนมีจุดประสงค์ที่จะชักจูง โน้มน้าวใจให้ผู้อ่านยอมรับในสิ่งที่ผู้เขียนเสนอ
๕) การเขียนเพื่อกิจธุระ > เป็นการเขียนที่ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง การเขียนชนิดนี้จะมีรูปแบบการเขียนและลักษณะการใช้ภาษาที่แตกต่างกันไปตามประเภทของการเขียน



มารยาทในการเขียน



๑) ใช้ถ้อยคำสุภาพไพเราะ หลีกเลี่ยงคำหยาบ ไม่ใช้อารมณ์ ความรู้สึกส่วนตนหรืออคติ วิจารณ์ผู้อื่นอย่างปราศจากเหตุผล จนทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายและสังคมแตกแยก
๒) เขียนข้อความหรืองานเขียนที่เป็นจริง ได้ศึกษา ค้นคว้าและตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเสียก่อน
๓) เขียนให้ถูกต้องตามอักขรวิธี ใช้สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง ใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมกับเนื้อหากาลเทศะและสถานะบุคคล
๔) เขียนสิ่งที่มีคุณค่าอันจะก่อให้เกิดความสุขให้เกิดความสงบสุขแก่คนในสังคมและประเทศชาติ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่มีต่อผลการพัฒนาประเทศชาติ
๕) การไม่คัดลอกงานเขียนของผู้อื่น โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเอง เมื่อยกข้อความหรืองานเขียนของผู้อื่นมาประกอบจะต้องให้เกียรติเจ้าของงานโดยการเขียนอ้างอิงที่มาของเรื่องและชื่อผู้เขียนทุกครั้ง


จดหมายกิจธุระ
เป็นจดหมายที่เกี่วข้องกับธุระการงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต จดหมายกิจธุระอาจเป็นจดหมายระหว่างบุคคลถึงบุคคล บุคคลถึงบริษัทห้างร้าน หรือเป็นจดหมายของบุคคลถึงส่วนราชการ ใจความในจดหมายต้องระบุให้ชัดเจนว่าต้องการให้เกิดความร่วมมือในเรื่องใดมีความจำเป็นอย่างไรจึงต้องขอความร่วมมือช่วยเหลือ การใช้สำนวนภาษาต้องสุภาพและให้ความสำคัญกับผู้รับจดหมาย


หลักในการเขียนจดหมายกิจธุระ


๑) พิมพ์หรือเขียนให้ถูกต้องตามรูปแบบของจดหมายแต่ละประเภท
๒) ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ชัดเจน กระชับ รัดกุม ใช้คำสุภาพและไม่ใช้ภาษาพูดในการเขียน
๓) พิมพ์หรือเขียนด้วยรายมือที่อ่านง่าย เรียบร้อย สะอาดตา
๔) สะกดคำให้ถูกต้องตามหลักภาษา ถูกต้องตามระดับภาษา กาลเทศะ และบุคคล
๕) ใช้คำนำ (คำขึ้นต้น) สรระนาม คำลงท้ายที่เหมาะสมกับฐานนะของบุคคลและเหมาะสมกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เขียนกับผู้รับ


การเขียนรายงานทางวิชาการ

โครงการและแผนงาน.doc


http://www.personnel.psu.ac.th/per26.html

รุ่งทิวา ศิรินารารัตน์,และนฤชิต แววศรีผ่อง.(2003).หนังสือเรียน คอมพิวเตอร์ เบื้องต้น เล่ม 1.กรุงเทพ:               

       ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ.
Comments