หน่วยที่ ๓

ความหมายและความสำคัญของการพูด

        การพูดคือ การถ่ายทอดความรู้ ความคิด ตลอดจนความรู้สึกของผู้ไปยังผู้ฟังคำพูดจึงมีความสำคัญและถ้ารู้จักใช้ให้ถ้อยคำมีพลังผลที่เกิดขึ้นจะมีดังนี้

  1.  ด้านการติดต่อสื่อสาร การพูดจะช่วยให้คนเราสื่อสารกับผู้อื่นได้ถูกต้อง  บอกเล่าความรู้สึก นึกคิด ความคิดเห็น    และแลกเปลี่ยนให้ผู่อื่นรับรู้ซึ่งกันและกัน โดยเข้าใจตรงกันประกอบกับการสังเกต สีหน้า ท่าทาง  กิริยาอาการ    รวมทั้งสัญลักษณ์ต่าง ๆ
  2. ด้านการเข้าสมาคมและการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
  3. ด้านศาสนา ศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อถือ ความศรัทธาที่เกิดจากจิตใจเฉพาะตัวบุคคลและยากที่จะเปลี่ยนแปลงซึ่งกลายเป็นพลังร่วมกันในชุมชนและสังคม
  4.  ด้านการปกครอง ทุกชุมชน สังคม การปกครองเป็นสิ่งจำเป็นที่คนจำนวนหนึ่งปกครองคนส่วนใหญ่ในสังคมให้ยอมรับและปฏิบัติตามระเบียบ กฎเกณฑ์ และบรรทัดฐานร่วมกัน
  5. ด้านพัฒนาบุคลิกภาพ บุคลิกภาพเป็นสิ่งแรกที่ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกทั้งทางบวกและลบ กล่าวคือ ความรู้สึกนิยม ประทับใจ สนใจ หรือเกิดความรู้สึกต่อต้าน ไม่ชอบใจ
  6. ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย  ระบบเสรีภาพและความเสมอภาคในบางอย่าง การพูดเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ระบอบนี้ยอมรับความคิดเห็นของสมาชิกในสังคม
  7. ด้านการประกอบอาชีพ ทุกอาชีพย่อมมีความพิเศษของตนเอง  การพูดก็เป็นเพราะต้องพูดสื่อสารในสายงานของตนเองและกับคนอื่น ๆ การพูดที่ดีคือต้องรู้จักการประยุกต์ให้ดีขึ้น
  8. ข้อนี้สำคัญมากคือ ในด้านการสอน การสอนคือการถ่ายทอดวิชาความรู้ของตนให้ผู้อื่น ซึ่งเป็นทั้งศิลปะและศาสตร์ คนที่จะสอนมีศาสตร์คือมีความรู้อยู่แล้ว แต่วิธีหรือเทคนิคของการถ่ายทอดเป็นศิลปะ  เพื่อให้ผู้รับเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและแม่นยำ

        ประเภทของการพูด

1.     การพูดอย่างไม่เป็นทางการ เป็นประเภทที่ทุกคนใช้อยู่ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนบ้าน ในสถานที่ทำงานกับผู้คนที่คุ้นเคย

2.     การพูดอย่างเป็นทางการ ประเภทที่พูดในที่ชุมชนเนี่องจากโอกาสต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ การพูดแบบนี้ต้องมีการเตรียมตัว มีแบบแผน มีการฝึกฝน

  

 

 

จำแนกตามโอกาส

 

พูดอย่างเป็นทางการ

 

พูดอย่างไม่เป็นทางการ

จำแนกตามรูปแบบ

จำแนกตามรูปแบบ

 

การพูดระหว่างบุคคล

 

 

การสัมภาษณ์

ปุจฉา วิสัชนา

เทศน์สองธรรมาสน์ ฯลฯ

 

การสนทนา

การซักถาม

 

 

การพูดในกลุ่ม

 

การประชุมคณะกรรมการ

การอภิปรายโต๊ะกลม

การประชุมกลุ่ม ฯลฯ

 

การเจรจาหารือ

กลุ่มสนทนา หรือสภากาแฟ

ฯลฯ

 

 

การพูดในที่ชุมนุมชน

 

การปาฐกถา  การบรรยาย

การกล่าวสุนทรพจน์

การอภิปรายแบบต่าง

การโต้วาที

การประกาศของพิธีกร ฯลฯ

 

การโฆษณา

การพูดหาเสียง

การแจ้งข่าว

การถกเถียงโต้แย้ง

ฯลฯ

แผนภูมิแสดงการแบ่งประเภทของการพูด

        ลักษณะการพูดที่ดี

1.    ต้องมีคำจริงใจและสุจริตใจในการพูด ซึ่งตรงกันข้ามกับการพูดที่โกหก ตลบแตลง เสียดสี  การพูดที่ดีมี  ลักษณะคือ คนพูดมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและไม่พูดในสิ่งที่ขัดต่อความรู้สึกและความคิดเห็นของตนเอง

2.    การพูดที่ดีคือมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ ทำให้คุ้มค่าทั้งแรงงานและเวลาที่เสียไป

3.    ผู้ฟังเกิดความพึงพอใจ โดยใช้ถ้อยคำสุขภาพ วาจาไพเราะให้เกียรติคนฟัง ไม่เหยียดหยามผู้อื่น ไม่        สบถสาบาน ไม่ประจบสอพลอ ไม่สรรเสริญเยินยอเกินความเป็นจริง

            มารยาทในการพูด

1.     คิดให้รอบคอบก่อนพูด คือพิจารณาถ้อยคำความเหมาะสมกับผู้ฟังสมควรหรือไม่

2.     อารมณ์ ควรใช้ให้ถูกกาลเทศะ ไม่ควรพูดเรื่องงานรื่นเริงกับผู้ที่กำลังเจ็บป่วยหรือสูญผู้เป็นที่รัก

3.     ไม่ควรพูดกระทบหรือเสียดสีผู้ฟัง แม้ว่าอาจเป็นเพียงเจตนา เพื่อหยอกล้อก็ตาม

4.     ควรมีความตั้งใจพูด

5.     ควรเตรียมเนื้อหาให้พร้อม

6.     ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย

7.     ขณะพูดไม่ยกตนข่มท่าน

8.     ควรพูดให้เหมาะกับเวลา

9.     พยายามแสดงออกด้วยบุคลิกภาพที่ดี

10.     ควรรู้จักการกล่าวขึ้นต้นและการลงท้าย เช่น ขอบคุณ หรือขณะพูดมีเสียงปรบมือ

11.     ไม่ผูกขาดการพูดเพียงผู้เดียว การพูดต้องเปิดโอกาสให้ผู้อื่นพูดด้วย

                การใช้นำเสียงในการพูด

1.     ต้องมีเสียงดังพอสมควร

2.     ท่วงทำนองของเสียงต้องมีระดับที่แตกต่างกัน

3.     ต้องเป็นเสียงแท้ของผู้พูดที่เป็นธรรมชาติ

4.     เสียงที่พูดต้องเหมาะสมกับโอกาส ปริมาณ อารมณ์และองค์ประกอบผู้ฟัง ตลอดจน

5.     เสียงจะต้องออกได้ถูกต้อง ชัดเจน

                การใช้ภาษาในการพูด

1.    เลือกใช้คำง่าย ๆ เข้าใจได้แจ่มแจ้งชัดเจน ประโยคไม่ควรยาวนัก เพราะการใช้ประโยคยืดยาว และวกวนทำให้ผู้ฟังงุนงง ตามไม่ทันและอาจผิดพลาดจุดสำคัญของเรื่อง

2.    การใช้สำนวนโวหาร ไม่ควรใช้สำนวนมากเกินไป หรือล้าสมัยนานโบราณมากไป หรือสำนวนที่เป็นภาษาพูดแต่ไม่ควร เขียน จึงควรใช้สำนวนโวหารนั้นให้ถ่องแท้เสียก่อนเพราะถ้าใช้ผิดพลาดจะทำให้เกิดความเสียหายกับผู้พูดและงานนั้นได้

3.    เลือกระดับคำพูดให้เหมาะสมกับผู้ฟังและโอกาส 

4.   ไม่ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ ขัอนี้เป็นข้อที่พึงระวังมากที่สุด คือ คำแสลง คำกำกวม คำเกินจริง คำหยาบคายคำล้อเลียนต่าง ๆ แม้บางครั้งจะช่วยให้บรรยากาศในการพูดครึกครื้น หรือเป็นกันเองมากขึ้น แต่ก็พึงระวังต้องเลือกใช้ให้ดี

 

                ความหมายและหลักการสนทนา

                การสนทนา คือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสิ่งที่มีความสนใจร่วมกัน ความคิดเห็นนั้นอาจจะเห็นพ้องต้องกัน คล้อยตามกันหรืออาจขัดแย้งกันก็ได้ การสนทนาอาจเป็นคน 2 คนหรืออาจมีจำนวนเป็นกลุ่ม ยิ่งมีจำนวนคนมากขึ้นย่อมมีเรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้นด้วย เพราะแต่ละคนย่อมมีความรู้กนึกคิดส่วนตัวของตน โดยเฉพาะถ้าเป็นการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการในระหว่างเพื่อนฝูง

                หลักสำคัญในการสนทนา ที่พึงระลึกและปฏิบัติก็คือ การสนทนาต้องเนไปเพื่อสร้างมิตรภาพและเพื่อประโยชน์ในการแสดงและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันมิใช่เพื่อเอาชนะหรือเพื่อแสดงความเด่นเหนือผู้อื่น

                    การเริ่มการสนทนา

                การสนทนาต้องพิจารณาว่าผู้ที่เราสนทนาด้วยมีความสนิทสนมใกล้ชิดกันมากน้อยเพียงใด   จึงจะสนทนาในหัวข้อที่ควรยกเป็นประเด็น  เป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องลึกซึ้งที่ต้องการรู้เป็นพิเศษและไม่ใช่เป็นเรื่องที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งไดง่าย

                การสนทนาพึงระวังไม่ละลาบละล้วงในเรื่องส่วนตัว ที่ทำให้คู่สนทนาออึดอัดใจโดยเฉพาะคนที่เพิ่งรู้จักกันใหม่ๆ เวลาถามอะไรถ้าเขาลังเล  หรือท่าทีไม่อยากตอบไม่ควรรุกเร้าหรือถามซ้ำขอ้สำคัญต้องพยายามระวังตัว คิดก่อนพูด  คิดก่อนถาม  ไม่ควรพูดเรื่อยๆ  โดยไม่ได้คิด  เพราะอาจเป็นปัญหาใหญ่ตามมาภายหลัง

                    หลักการแนะนำตัว

            1. ถ้าผู้ร่วมสนทนาไม่รู้จักกันมาก่อน  ต้องแนะนำผู้น้อยให้รู้จักผู้ใหญ่

             2. แนะนำผู้ชายให้รู้จักผู้หญิง  ไม่ควรเย้าแหย่ในเรื่องส่วนตัวผู้แนะนำต้องมีหลักว่าต้องพยายามที่จะทำให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน

            3.ถ้าไม่มีผู้แนะนำตัว  แต่ต้องแนะนำตัวเอง  ก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน  คือ  บอกชื่อ  นามสกุล  ที่ทำงาน ให้ชัดเจน  ถ้าผู้ที่เราจะสนทนาด้วยมีอาวุโสกว่า  ก็ควรทำความเคารพได้โดยไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป

          ลักษณะการสนทนาที่ดี

              การสนทนาเป็นเครื่องมือในการสร้างมนุษยสัมพันธ์และช่วยทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างคู่สนทนา  ปรียา หิรัญประดิษฐ์ (๒๕๓๒ : ๓๙-๔๐) ได้ให้ข้อเสนอแนะในการเป็นคู่สนทนาที่ดี สรุปได้ดังนี้

              มีคุณสมบัติของการเป็นนักฟังที่ดี การสนทนาต้องใช้วาจาไพเราะ คำว่า ค่ะ ครับ  ขอบคุณ ขอโทษ  จำเป็นต้องใช้ให้เหมาะกับโอกาส เมื่อพูดกับผู้ใหญ่ต้องคำนึงถึงความสุภาพเสมอ

              .   พูดแต่เรื่องที่ทำให้คู่สนทนาหรือผู้อยู่ในกลุ่มสบายใจ และเรื่องที่ไม่เป็นผลเสียกับใคร  การออกความเห็นเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น  ต้องระมัดระวังโดย  ควรพูดในลักษณะที่เป็นกลาง ถ้าจะชมผู้ใดไม่ควรพูดจนเกินจริงเพราะจะทำให้ผู้ได้รับคำชมกระดาก

              .   เมื่อมีข้อขัดแย้งในระหว่างการสนทนา ต้องพยายามไกล่เกลี่ยไม่ให้เกิดความร้าวฉานหรือความหมองใจขึ้นได้ โดยการเปลี่ยนหัวข้อสนทนาไปสู่เรื่องที่ไม่ ตึงเครียด

              .   อย่าขัดคอคู่สนทนา  เพราะจะเกิดความไม่เป็นมิตร และไม่ควรจะข้ามไปพูดเรื่องอื่นในขณะที่คู่สนทนากำลังเพลิดเพลินเกี่ยวกับเรื่องเดิม  เพราะจะกลายเป็นการเปลี่ยนเรื่องโดยไร้มารยาท     คู่สนทนาอาจน้อยใจได้

              .   อย่าผูกขาดการสนทนาแต่ผู้เดียว ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรทำตัวเป็นเพียงผู้รับฟังเฉย ควรซักถามหรือพูดโต้ตอบในช่วงที่เหมาะสมเพื่อแสดงว่าเป็นผู้ฟังที่ดี  และสนใจเรื่องที่กำลังสนทนาอยู่

              .   ถ้าต้องฟังเรื่องที่ไม่สบอารมณ์  ควรฟังอย่างสงบอย่าลุกหนีมาเฉย

              .   การสนทนาไม่ควรนินทาผู้อื่น เพราะอาจทำให้คู่สนทนาไม่ไว้วางใจ ไม่ควรถามซอกแซกในเรื่องส่วนตัวของผู้ที่เริ่มรู้จักเพราะจะทำให้เกิดความอึดอัด ไม่ควรซุบซิบหรือใช้ภาษาถิ่นหรือใช้ภาษาเฉพาะกลุ่มกับคนใดคนหนึ่งในวงสนทนา

              .   มีมารยาทสุภาพ มีสีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตรในระหว่างที่สนทนากัน เพราะการสนทนาเป็นการผ่อนคลาย ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรเสแสร้งเป็นคน  ปากหวาน แต่ไม่จริงใจเพราะจะไม่ได้รับความเชื่อถือในที่สุด

              .   การแนะนำผู้ที่ไม่รู้จักกันให้สนทนากันมีหลักดังนี้ ถ้าหากเป็นการ   แนะนำระหว่างสตรีกับบุรุษที่มีความทัดเทียมกัน ควรแนะนำบุรุษให้รู้จักกับสตรี  ถ้าเป็นเพศเดียวกันแต่เป็นผู้อาวุโสกับผู้อ่อนอาวุโส ให้กล่าวแนะนำผู้อาวุโสก่อน ถ้ารุ่นราว    คราวเดียวกันแนะนำใครก่อนก็ได้

                        จากข้อแนะนำดังกล่าวอาจสรุปได้ว่า คู่สนทนาที่ดีควรจักต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ การเป็นนักฟังที่ดี  มีความรู้รอบตัวและมีปฏิภาณไหวพริบ  มีความจริงใจและ ไม่ควรพูดให้คู่สนทนาสะเทือนใจ  มีมารยาทที่ดี มีความสุภาพอ่อนโยนที่แสดงออกทั้ง    คำพูดและกิริยามารยาท

                   ลักษณะของคู่สนทนาที่ดี

           ลักษณะของคู่สนทนาที่ดี  5  ประการ  คือ

            1. ให้ความสนใจแก่คู่สนทนาอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามพึงระวังกิริยาด้วย ควรให้สอดคล้องต้องกัน

            2. มีความจริงใจ ไม่เสแสร้ง ชมเชย ชื่นชมจนเกินจริง

            3. ควรมีความรู้รอบตัว มีปฏิภาณ ไหวพริบดี คุณสมบัติเหล่านี้ คือ ความฉลาดซึ่งหลายคนมีจากสติปัญญา

            4. มีความเข้าใจ และเห็นใจผู้อื่น เป็นคุณสมบัติที่รู้ใจเขา ใจเรา การสนทนาจะไม่พาดพิงให้คู่สนทนากระเทือนใจ

            5. มีศิลปะในการแสดงความเห็นขัดแย้ง เป็นศิลปะที่ต้องอาศัยปฏิภาณและการฝึกฝนที่จะแสดงความขัดแย้งอย่างนุ่มนวล ทำให้ผู้อื่นยอมรับฟัง ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม

                       การจบการสนทนา

                การจลการสนทนาควรจบด้วยความนุ่มนวล เช่นเดียวกับการเริ่มต้น  เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกันต่อไป  ไม่ควรจบการสนทนาอย่างกระทันหัน  เพราะอาจทำให้คู่สนทนาไม่สบายใจว่าได้ทำอะไรผิดพลาดหรือพูดให้เราเกิดความไม่สบายใจขึ้น  เช่นเดียวกัน  ไม่ควรใช้เวลาสนทนาเนิ่นนานเกินไปจนน่ารำคาญและน่าเบื่อหน่าย  จนทำให้เขารู้สึกไม่อยากสนทนาด้วยครั้งต่อๆ ไป

                        มารยาทในการสนทนา

1. อย่าเป็นผู้พูดมาก พูดเท่าที่จำเป็น แต่ต้องเป็นผู้ฟังให้มาก

2.  อย่าเล่าเรื่องส่วนตัวของตนจนเกินไป คนฟังจะเบื่อ

3.  อย่าอวดอำนาจของตนในครอบครัวให้คนอื่นฟัง

4.  อย่าบ่นถึงเคราะห์กรรม หรือความทุกข์ยากใดๆ ของตนให้ผู้อื่นฟังอย่างพร่ำเพรื่อ

5.  อย่ารำพึงรำพัน หรือแสดงฐานะว่าตนยากจนอยู่เสมอ

6.  ขณะเดียวกันก็อย่าแสดงตนโอ้อวดความร่ำรวย อวดมั่ง อวดมี

7.  อย่านินทาคนในครอบครัวของตนให้คนอื่นฟัง

8.  อย่าบ่นไม่ชอบคนโน้นไม่ชอบคนนี้ ไม่ถูกกับตนให้คนฟังไปทั่ว

9.  อย่าเอาความลับของผู้อื่นมาเปิดเผย หรือล้อเลียนเล่น

10.  อย่ากล่าวคำหยาบคาย หรือใช้วาจาไม่สุภาพ

11. ในวงการสนทนาย่อมมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันบ้าง ควรรอให้ผู้พูดจบเรื่องเสียก่อนแล้วจึงแสดงความคิดเห็น

12. อย่าส่งเสียงจนดังเกินไป เพราะจะรบกวนผู้ฟังคนอื่น

13. ขณะพูดอย่าพูดไปหัวเราะไป หรือร้องไห้ไปพูดไป

14. อย่าพูดจาที่หยอกล้อจนเกินสมควร เพราะจะทำให้เกิดความบาดหมางใจ

15. อย่าตั้งใจโต้เถียงอย่างเอาชนะ

16. ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นบุพการี

                        การสนทนาในที่ประชุม

                การสนทนาในเวลาไปในงานอันเป็นที่ประชุมชนหรือมีแขกมากนั้น  จะต้องพูดในเรื่องเกี่ยวกับวิทยากร โดยขึ้นอยู่กับกาลเทศะที่ดูความเหมาะสมว่าอะไรควรอะไรไม่ควร หลักในการสนทนาที่สำคัญ  คือ  ไม่ควรสนทนาในเรื่องที่กว้างไกลตัวไม่รู้จบหาข้อยุติลำบาก

                การถกเถียงโต้คารมในเรื่องการเมืองการปกครอง  ในทางศาสนาควรหลีกเลี่ยงเพราะหาข้อยุติไม่ได้  การเล่าหรือพรรณนาถึงความเจ็บไข้  และอาการป่วยที่ละเอียดมากเกินไป  การเล่าถึงความสูญเสีย  ความตาย  เหล่านี้ไม่ควรอยู่ในการสนทนา  ถ้าจำเป็นต้องควรเล่าสั้นๆ ถึงเนื้อหาเท่านั้น

                ดังนั้น  เห็นได้ว่าหลักการสนทนาเป็นเรื่องที่ใช้ในชีวิตของคนทุกคนและถ้าเราปฏิบัติเป็นประจำก็จะกลายเป็นความเคยชินที่ไม่รู้สึกยุ่งยากหรือลำบากใจที่จะติดต่อคบหาสมาคมกับผู้อื่นเลย

                           

                    การพูดโทรศัพท์

                  1. ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายโทรศัพท์ติดต่อ ควรเจ้งหมายเลขที่ต้องการติดต่อ เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าตรงกับหมายเลขที่เราจะติดต่อหรือไม่ ถ้าถูกต้องจึงบอกชื่อ ผู้ที่เราต้องการจะขอพูดด้วยอย่างชัดเจน

                2. ถ้าเราเป็นฝ่ายรับโทรศัพท์ ควรแจ้งหมายเลขของเราให้ทราบพร้อมกับถามว่าเขาต้องการพูดกับใคร และรีบจัดการติดต่อให้ทันที

                3. มีหลายครั้งที่โทรศัพท์เข้ามาผิดหมายเลข แต่อาจอยู่ในบริเวณเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยราชการ หรือองค์กร บริษัท ถ้าสามารถติดต่อให้ได้ บอกให้เขาถือสายรอ เราจะโอนให้

                4. การใช้โทรศัพท์ควรพูดเฉพาะที่จำเป็นและไม่ใช้เวลานานเกินสมควร เพราะอาจมีผู้อื่นต้องการใช้สายในขณะนั้น

                5. ถ้าต้องการตัดบทสนทนาทางโทรศัพท์ ควรใช้วิธีบอกอย่างตรงไปตรงมาแต่นุ่มนวล

                6. ในสมัยก่อนจะมีความเชื่อกันว่าผู้น้อย หรือเด็กกว่าไม่ควรโทรศัพท์นัดหมายผู้ใหญ่ แต่ปัจจุบันเวลาเป็นสิ่งมีค่า และการเดินทางไปมาลำบาก การติดต่อทางโทรศัพท์เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างยิ่ง ดังนั้นผู้ใหญ่จึงมักอนุโลมให้มีการติดต่อนัดหมายทางโทรศัพท์

                กรณีที่ผู้น้อยติดต่อไปหาผู้ใหญ่จึงต้องคำนึงถึงการใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม  ในการสนทนาใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวลและน่าฟัง  ไม่ควรพูดห้วนๆ  หรือเรียกร้องเอาฝ่ายเดียว  ต้องนึกถึงเวลาและโอกาส หรือความสะดวกของผู้ฟังด้วย

แนวปฏิบัติในการพูดโทรศัพท์

              การพูดโทรศัพท์ที่ดีมีแนวปฏิบัติกว้าง ดังนี้

              1.    ผู้โทรศัพท์ติดต่อไป  เมื่อมีผู้รับโทรศัพท์ควรปฏิบัติ ดังนี้

                    1.1  ทักทายด้วยคำว่า สวัสดี พร้อมแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ที่ต้องการติดต่อ เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าถูกต้อง จากนั้นจึงบอกชื่อผู้พูดโทรศัพท์ หรือชื่อหน่วยงานของผู้พูดโทรศัพท์

                    1.2    บอกชื่อผู้ที่เราต้องการจะพูดด้วยให้ชัดเจน

                    1.3    ถ้าต้องการขอความช่วยเหลือจากผู้รับให้ตามตัวผู้ที่เราต้องการจะพูดด้วย หรือฝากข้อความถึงผู้ที่ไม่อยู่ ต้องพูดให้สุภาพและขอบคุณทันที ไม่ควรรอไว้ขอบคุณภายหลัง

                    1.4    การฝากข้อความไว้กับผู้รับ ควรสอบถามก่อนว่าผู้รับฝากข้อความเป็นใครมีหน้าที่อะไร  เพื่อหากมีปัญหาในการสื่อสารจะด้วยเหตุใดก็ตามสามารถอ้างอิงหรือสอบถามกับผู้รับฝากข้อความได้

                    1.5    การพูดโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์สาธารณะหรือที่ใดก็ตามควรรักษามารยาทด้วยการไม่ใช้นานเกินสมควร เพราะอาจจะมีผู้มีธุระจำเป็นต้องการใช้อยู่

                    1.6    การติดต่อโทรศัพท์ผิดหมายเลข ควรกล่าวคำขอโทษอย่างสุภาพ

              2ผู้รับโทรศัพท์   มารยาทในการเป็นผู้รับโทรศัพท์ที่ดีควรปฏิบัติ ดังนี้

                    2.1      เมื่อรับโทรศัพท์ควรเริ่มต้นทักทายด้วยคำว่าสวัสดีพร้อมกับแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ของตน  หรือบอกชื่อผู้รับโทรศัพท์ กรณีเป็นหน่วยงานควรบอกชื่อหน่วยงานของผู้รับโทรศัพท์ให้ทราบ และควรถามว่าต้องการติดต่อกับใครด้วยความสุภาพ    มีน้ำเสียงนุ่มนวล

                    2.2    ถ้าผู้ติดต่อมาต้องการพูดกับผู้อื่น ควรรีบติดต่อให้ทันที หากการติดต่อต้องใช้เวลานาน ควรบอกให้ผู้ติดต่อมาทราบเสียก่อน หรือบอกให้โทรศัพท์ติดต่อมาอีกครั้งหนึ่งในระยะเวลาเท่าไร

                    2.3     กรณีที่ผู้ที่ต้องการจะติดต่อด้วยไม่อยู่ และผู้ติดต่อมาต้องการฝากข้อความไว้ ควรใช้วิธีจดให้ชัดเจน ไม่ควรใช้วิธีจำเป็นอันขาด หรือมิฉะนั้นควรสอบถามชื่อของผู้ที่โทรศัพท์ติดต่อมาพร้อมหมายเลขที่จะโทรศัพท์กลับไปภายหลัง

                    2.4     ถ้าต้องการตัดบทสนทนาทางโทรศัพท์ ควรบอกอย่างตรงไปตรงมาแต่นุ่มนวล เช่นขอโทษครับ มีอะไรอีกไหมครับ พอดีมีคนเข้ามาติดต่องาน(หรืองานกำลังยุ่ง)ครับ หากมีอะไรก็โทรมาใหม่นะครับ สวัสดีครับ 

                     สรุป

                มารยาทในการพูดสนทนามีตั้งแต่เริ่มทำความรู้จัก เนื้อหาคำพูดในการพูด การเป็นคู่สนทนาที่ดี หลักมารยาทต่าง ๆ รวมทั้งการสนทนาระยะสั้น ๆ คือ การพูดโทรศัพท์ เป็นมารยาทอย่างหนึ่งในการสมาคมติดต่อกับผู้อื่นซึ่งมีการเรียนรู้ ฝึกฝนได้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

 

  ความหมายของการพูด           

         การพูด  คือกระบวนการในการสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์  เป็นการสื่อสารความคิดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งหรือไปยังคนอีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อต้องการแสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึก  โดยใช้ภาษา ถ้อยคำ น้ำเสียง  อากัปกริยาท่าทางเป็นสื่อ   เพื่อให้ผู้ฟังรับรู้และเกิดการตอบสนอง

ความสำคัญของการพูด

           มนุษย์ใช้การพูดเป็นเครื่องมือในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ช่วยในการแสวงหาความรู้  สร้างมนุษย์สัมพันธ์ ช่วยทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ช่วยสร้างมิตร และอาจสร้างศัตรู อาจทำให้ผู้พูด ได้รับหรือไม่ได้รับสิ่งที่ตนต้องการ มีความสำคัญมากทั้งในชีวิตประจำวัน   ในครอบครัว  ในการทำงาน  ในกิจการงานต่าง ๆ เพราะคำพูดอาศัยเสียงเป็นสื่อ  ระดับความสูงต่ำของเสียงทำให้เกิดอารมณ์ต่าง ๆ กัน ถ้าผู้พูดรู้จักใช้ ก็จะสามารถโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังตามความประสงค์ของผู้พูดได้ง่าย  สีหน้าและท่าทางของผู้พูดก็เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความ  เข้าใจง่ายขึ้น เกิดผลเร็วกว่าการสื่อสารชนิดอื่นๆ    คนเราจึงควรมี  ปิยวาจา”  เพราะคำพูดที่ดี  ย่อมเป็นเครื่องผูกมิตร ย่อมช่วยสร้างความเข้าใจ สร้างศรัทธา สานประโยชน์  ในสังคมส่วนรวมล้วนต้องอาศัยการพูดเพื่อโน้มน้าวให้เห็นความสำคัญ    การให้ความร่วมมือ เพื่อผลแห่งความเจริญก้าวหน้าทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ดังนั้นถ้าจะพูด ต้อง  “พูดเป็น”  จึงจะประสบความสำเร็จในการพูด 

สัดส่วนความสำคัญในการพูด

            1.  เนื้อหาสาระในการพูด  ต้องมีลักษณะ น่าสนใจ  มีประโยชน์ มีคุณค่าควรแก่การฟัง มีความสำคัญถึงร้อยละ  50   

            2.  บุคลิกภาพทั่วไป  ได้แก่ รูปร่างหน้าตา การแต่งกาย การปรากฏกาย การใช้ท่าทาง  การใช้มือ  การใช้สายตา มีความสำคัญร้อยละ 10 

            3.  ศิลปะการแสดงออก หรือศิลปะการถ่ายทอด หมายถึงการเรียงลำดับเนื้อหา   การยกตัวอย่าง  การอุปมาอุปมัย  การแทรกอารมณ์ขัน การเน้นเสียง  การเน้นจังหวะจะโคนในการพูด ตลอดจนการสร้างความเป็นกันเองกับผู้ฟัง

 

   หลักและศิลปะการพูดเบื้องต้น

องค์ประกอบของการพูด

องค์ประกอบของการพูด

คุณสมบัติของนักพูดที่ดี

1.   ผู้พูด

2.   ผู้ฟัง

3.   เรื่องที่พูด (สาร

                4. เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร  (สื่อ)

                    5. ผลจากการพูด

1.  เป็นนักฟังที่ดี

2.  ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ๆ

3.  ยอมรับฟังคำวิจารณ์ของผู้อื่น

4.  เป็นตัวของตัวเอง ไม่เลียนแบบใคร

5.  มีความสุขในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น

 

หัวใจของการพูด   มี  3 อย่าง คือ

         1.   บุคลิกภาพ  หมายถึง การแต่งกาย กริยาอาการต่าง ๆ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การพูดน่าดู น่าฟัง  น่านับถือ  น่าเชื่อถือ

         2.  เนื้อเรื่อง ต้องมีการเตรียมมาเป็นอย่างดี ต้องพูดในเรื่องที่รู้  “สิ่งใดไม่รู้ ทำให้รู้ก่อนแล้วจึงพูด

         3.  กลวิธีการเสนอเรื่อง เป็นการใช้ศิลปะของการพูด  พูดอย่างไรจึงจะทำให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย  คนฟังไม่เบื่อ  ได้ความรู้ตรงตามที่ผู้พูดต้องการในเวลาอันรวดเร็ว แต่ละคนจะมีกลวิธีในการเสนอเรื่องที่แตกต่างกันไป

ในการพูดแต่ละครั้ง  ผู้พูด”  มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง  เพราะเป็นผู้กำหัวใจผู้ฟังไว้ในมือ    ถ้าพูดด้วยอารมณ์สนุกสนาน ผู้ฟังจะสนุกสนานตาม    พูดด้วยอารมณ์เศร้าสร้อย  ผู้ฟังจะพลอยหดหู่เศร้าซึมตามไปด้วย  ถ้าพูดด้วยความเร่าร้อน  เร่งระดม  ผู้ฟังจะพลอยเร่าร้อน ขึงขังตามไปด้วย   อย่างไรก็ตามถึงแม้จะพูดดี  แต่เนื้อหาสาระไม่น่าสนใจ   ไม่เหมาะกับบรรยากาศและสภาพแวดล้อม  แม้ผู้พูดจะพูดดีและผู้ฟังจะตั้งใจและให้ความร่วมมืออย่างดี  การพูดนั้นอาจล้มเหลวได้

 

มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ

1.                การแต่งกายต้องสุภาพเรียบร้อย เหมาะสมแก่โอกาสและสถานที่

2.                ควรมาถึงสถานที่พูดให้ตรงตามเวลา หรือ ก่อนเวลาเล็กน้อย

3.               ไม่แสดงกริยาไม่สมควรหน้าที่ประชุม

4.                ใช้คำพูดให้เกียรติผู้ฟัง

5.               ไม่พาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่นในที่ประชุม

6.                ละเว้นการพูดหยาบโลน หรือตลกคะนอง

7.                ไม่ควรพูดเกินเวลาที่กำหนด

การเตรียมตัวพูด

            1.  กำหนดจุดมุ่งหมายในการพูด
            2.  วิเคราะห์ผู้ฟัง
            3.  กำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะพูด
            4.  รวบรวมเนื้อหาที่จะพูด
            5.  ทำเค้าโครงลำดับเรื่องที่จะพูด
            6.  เตรียมวิธีการใช้ภาษา
            7.  ซักซ้อมการพูด

ในการพูดแต่ละครั้ง ต้องวิเคราะห์สิ่งต่อไปนี้

            1. วิเคราะห์ผู้ฟัง ผู้ฟังจะแตกต่างกันในเรื่อง   วัย เพศ ระดับการศึกษา ศาสนาและ ความเชื่อ ฐานะ และอาชีพ ความสนใจ
            2. วิเคราะห์โอกาสที่พูด  เวลาที่กำหนดให้พูด
            3. วิเคราะห์ เทศะ คือ สถานที่   เช่น  สถานที่เล็ก ๆ  แคบ ๆ  ใกล้ถนน   ฯลฯ

หลักในการเลือกเรื่องที่จะพูด
             1. คำนึงถึงจุดประสงค์ในการพูดแต่ละครั้ง
             2. คำนึงถึงกาลเทศะ  พูดในโอกาสใด ในฐานะอะไร
             3. คำนึงถึงผู้ฟัง พูดให้ใครฟัง ความแตกต่างของผู้ฟังในเรื่อง วัย สถานภาพทางสังคม อายุ 
             4. คำนึงถึงเรื่องที่พูด  ว่าต้องพูดเรื่องที่ตนถนัด  แต่เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง และผู้ฟังสนใจ

การเตรียมเนื้อเรื่อง  
             เรื่องที่เราจะพูดได้ดีคือ เรื่องที่เรารู้ดีในการเตรียมเนื้อเรื่องต้องคำนึงถึงว่า  อะไรที่รู้แล้วบ้าง อะไรที่ยังไม่รู้ ให้ทำโดยการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม  เช่น  โดยการ อ่าน ฟังข่าว  สัมภาษณ์  สนทนา  ทัศนศึกษา  
การเรียงลำดับเนื้อเรื่องต้องเตรียมดังนี้
              1. ทักทายผู้ฟัง
              2. พูดความนำ
              3. เนื้อเรื่อง
              4. สรุปจบ

การทักทายผู้ฟัง
 
             
ต้องเตรียมการปฏิสันถาร หรือ การทักทายให้เหมาะสมกับผู้ฟัง และโอกาสที่พูดด้วย ว่าผู้ฟังมีใครบ้าง ใครมีฐานะหรือ ตำแหน่งที่สูงที่สุด ณ ที่นั้น โอกาสที่พูดเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ในกรณีที่ผู้ฟังมีสถานภาพทางสังคมหลากหลาย  มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย อาจใช้คำทักทายรวม ๆ ว่าท่านผู้มีเกียรติแบ่งได้ดังนี้

             1. งานพิธีการต่าง ๆ  จะเรียกเฉพาะ ตำแหน่ง”  หรือ  “ยศ”  ของผู้มาร่วมพิธี  สรรพนามใช้คำว่า  “ข้าพเจ้า”   ไม่ใช้คำที่แสดงความสนิทสนม   เช่น  “ที่รัก,   ที่เคารพ,   ที่นับถือ”   ไม่นิยมใช้
             2.  การพูดไม่เป็นพิธีการ   อาจใช้คำเรียก ยศ”  หรือ  “ตำแหน่งทางหน้าที่การงาน  หรือ คำเรียกเครือญาติ  หรือ คำแสดงความสนิทสนม  แสดงว่าเป็นฝ่ายเดียวกับผู้ฟังโดยใช้สรรพนามเหล่านแทนผู้ฟัง   เช่น   “พี่น้องเรา, พวกเรา, คุณ ๆ, เพื่อน ๆและใช้คำแสดงความสนิทสนม  เช่น  “ที่รักที่เคารพ, ที่นับถือ  ฯลฯ”   สรรพนามแทนตัวเอง  ใช้   “กระผมผมดิฉัน

การพูดความนำ  
             คือคำพูดตอนเริ่มแรกหรือที่เรียกว่า  “อารัมภบทมีความสำคัญมาก  ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการพูด  การเริ่มต้นที่ดีถือเป็นชัยชนะที่สำคัญของการพูด อย่าปล่อยให้ส่วนที่สำคัญที่สุดนี้เป็นไปตามยถากรรม    เพราะจะทำให้ผู้ฟังหมดศรัทธาตั้งแต่ประโยคแรก    ความนำในการพูดที่ไม่เหมาะสม  ควรหลีกเลี่ยง   คือ

     การออกตัว  ขออภัย  ขอโทษ  คำนำที่ยาวเกินไป  คำนำที่ไม่ตรงกับเนื้อเรื่อง  

 

 

2.  การดำเนินเรื่อง 

               พูดไปตามลำดับเวลาหรือเหตุการณ์ อย่าพูดวกไปวนมาจนจับต้นชนปลายไม่ถูก
              ดำเนินเรื่องแบบกล่าวถึงสถานที่ จากที่ใกล้ตัวไปที่ไกลตัว จากตะวันออกไปสู่ตะวันตก  จากล่างไปสู่บน
              ดำเนินเรื่องแบบให้คำจำกัดความ ชี้ให้เห็นหรือเข้าใจแจ่มชัดถึงความหมายของคำในเรื่องแบบแยกแยะแบ่งเป็นหมวดหมู่  เช่น  แบ่งคนเป็น 2 - 3  พวก  คนดีและคนไม่ดี
               แบบเหตุและผล คือกล่าวถึงเหตุและแสดงผลอันเกิดจากเหตุนั้น ๆ

การสรุปจบ 
              การสรุปจบความสำคัญมากพอ ๆ กับการขึ้นต้น การสรุปจบจะต้องมีความหมายชัดเจน กะทัดรัด ไม่เลื่อนลอย ไม่เยิ่นเยื้อ และสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและหัวข้อ คำที่ผู้พูดมักใช้ และถือว่าเป็นการสรุปที่ล้มเหลว มีดังนี้
               ขอจบ  ขอยุติ   เช่น  “ที่พูดมาก็สมควรแก่เวลาแล้ว ขอยุติลงเพียงเท่านี้
               ไม่มากก็น้อย   เช่น  “ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หวังว่าผู้ฟังคงจะได้รับประโยชน์ ไม่มากก็น้อย
               ขออภัย  ขอโทษ   เช่น   “ผมต้องขอโทษถ้าหากว่าพูดอะไรผิดพลาดไปบ้าง หวังว่าคงให้อภัยผมนะครับขอบคุณ  เช่น  “ขอขอบพระคุณท่านผู้ฟังทุกท่านที่ให้เกียรตินั่งฟังผมพูดตั้งแต่ต้นจนจบ

           การสรุปจบที่ได้ผล  อาจใช้วิธีดังต่อไปนี้    
              จบด้วยคำกล่าว หรือสุภาษิต  
              จบด้วยคำนิยามสั้น ๆ   
              จบด้วยอาการวิงวอน  ขอร้อง  ชักชวน   
               การสรุปจบต้องมีความหมายชัดเจน  ไม่เลื่อนลอย  มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและหัวข้อ  มีความกะทัดรัด ไม่เยิ่นเยื้อ   

การเตรียมตัวพูดให้ยึดหลักดังนี้  "ขึ้นต้นให้ตื่นเต้น  ตอนกลางให้กลมกลืน  ตอนจบให้จับใจ"                                                                                                 (ทินวัฒน์  มฤคพิทักษ์, พูดได้-พูดเป็น)

การฝึกพูด  อาจฝึกคนเดียว หรือฝึกให้ผู้อื่นฟังก็ได้  มี  3  วิธี  คือ
 
             1. ฝึกพูดโดยวิธีธรรมชาติ  คือ  มีโอกาสให้แสดงการพูด  จะต้องพูดทันที
             
 2. ฝึกโดยการอ่านจากตำรา คือ ศึกษาตำราที่เกี่ยวกับวิชาการพูด แล้วพยายามฝึกตามหลักการพูดนั้น ๆ   
             3.  
ฝึกโดยให้ผู้อื่นแนะนำ

            ในการพูดแต่ละครั้ง ผู้พูดจะต้องเตรียมตัวให้ดี เตรียมพร้อมทั้งเนื้อเรื่องที่จะพูดและบุคลิกภาพ  สร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวเอง เดินให้สง่าและปรากฏตัวอย่างกระตือรือร้น  พูดให้เสียงดัง ชัดเจน แต่งกายให้สุภาพ  เรียบร้อย เหมาะกับกาลเทศะ  แสดงสีหน้าให้สดชื่น แจ่มใส มีชีวิตชีวา เพราะผู้ฟังจะได้สนใจ และเกิดความศรัทธาเป็นเบื้องต้น  ใช้ท่าทางประกอบการพูดให้เหมาะสม เมื่อพูดไป ๆ ผู้ฟังจะแสดงออกมาให้ปรากฏว่า  ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจฟัง สนใจหรือไม่สนใจฟัง ผู้พูดต้องรู้จักสังเกตผู้ฟัง  แล้วปรับปรุงเนื้อหาเสียใหม่   เช่น  อาจเล่านิทานแทรก  หรือมีมุขตลกมาเสนอ แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เป็นหยาบโลน เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดของผู้ฟัง

       ข้อแนะนำ  10  ประการ ในการฝึกฝนตนเองเป็นนักพูดที่ดี

          1.   พูดเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด
          2.   เตรียมตัวให้พร้อม  ความพร้อมทำให้ไม่ประหม่า หรือถ้าเคยประหม่ามากก็จะประหม่าน้อยลง
          3.   สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง บอกกับตัวเองว่าเรื่องนี้ หัวข้อนี้ สำหรับที่นี่ ฉันรู้ดีที่สุดแล้วพูดไปเลย
          4.   ถ้าทำทั้งสามข้อแล้วยังไม่หายประหม่า  มีข้อแนะนำคือ
                       สูดลมหายใจลึก ๆ หรือดื่มน้ำสักแก้ว
                       บอกตัวเองในใจว่า  “วันนี้สู้ตาย”  อย่าบอกว่า  “วันนี้ต้องตายแน่ ๆ
                       รวบรวมสติและกำลังใจ  พูดเสียงดังตั้งแต่คำแรก หรือประโยคแรก แล้วทุกอย่างจะดีขึ้น
          5.   แต่งกายให้สะอาด  เรียบร้อย  เหมาะสม
          6.   ปรากฏกายอย่างกระตือรือร้น ทำตนให้สดชื่น กระปรี้กระเปร่า แสดงถึงความพร้อม ความเต็มใจที่     จะพูด  นอกจากจะทำให้คนฟังรู้สึกอยากฟังแล้ว  ยังช่วยโน้มนำจิตใจของเราให้อยากพูด อยากแสดงออกมาอีกด้วย
          7.   ใช้กริยาท่าทางประกอบการพูดไปด้วย  อย่ายืนนิ่ง ๆ  และอย่าให้มือเกะกะวุ่นวาย  ใช้ให้พอเหมาะและตรงกับเรื่องที่พุด  กริยาท่าทางต้องใช้เสริมการพุด  ไม่ใช่ขัดขวางหรือทำลายความสนใจในการพูด  “จงพูดจากความรู้สึกที่จริงใจ  แล้วท่าทาง  มือไม้ของท่านจะเป็นไปเองตามธรรมชาติ
          8.   พยายามสบสายตากับผู้ฟัง  การสบสายตาเป็นวิธีหนึ่งที่จะดึงความสนใจของผู้ฟัง   ถ้าเรามองหน้าผู้ฟัง  ผู้ฟังก็จะมองเรา  เวลาพูดอย่าหลบตาผู้ฟัง  อย่ามองพื้น มองเพดาน มองต้นฉบับ หรือมองข้ามผู้ฟังออกไปข้างนอก  เมื่อใดการสื่อสารทางสายตาขาดหายไป  การสื่อสารทางจิตใจก็ขาดลง
          9.   ใช้น้ำเสียงให้เป็นไปตามธรรมชาติ  คือ  พูดให้เหมือนกับการคุยกัน  อย่าดัดเสียงให้ผิดไปจากธรรมชาติ  เสียงของนักพูดที่ดีมิได้หมายความว่า  ต้องหวาน กังวานไพเราะเหมือนเสียงนักร้อง  แต่หมายความว่าต้องเป็นเสียงที่ออกมาจากความรู้สึกที่จริงใจ  เต็มไปด้วยพลัง  มีชีวิตชีวา สามารถตรึงผู้พูดเอาไว้ได้  “ธรรมชาติของเสียงเราปรับปรุงไม่ได้  แต่บุคลิกภาพของเสียงสามารถปรับปรุงได้”   ดังนี้
              พูดให้เสียงดังฟังชัด  จังหวะการพูดอย่าให้ช้าหรือเร็วเกินไป
              จังหวะการพูดอย่าให้ช้าเกินไป จะทำให้น่าเบื่อ และอย่ารัวหรือเร็วเกินไป จะทำให้ฟังไม่ทัน พูดให้ได้จังหวะพอดี
             อย่าพูดอ้อ อ้า  ทำให้เสียเวลา เสียรสชาติของการพูด  ทำให้ผู้ฟังรำคาญ   “เอ้อ..เสียเวลา  อ้าเสียคน
             อย่าพูดเหมือนอ่านหนังสือ หรือท่องจำ
            ใส่ความกระตือรือร้นลงไปในน้ำเสียง ใส่อารมณ์  ความรู้สึก  อย่าพูดราบเรียบ   ขณะพูด  ใช้เสียงหนักเบา  ใช้เสียงสูง ต่ำ มีการเว้นจังหวะการพูด การทอดเสียง การเว้นจังหวะ การรัวจังหวะการพูด การหยุดหายใจเล็กน้อยก่อนหรือหลังคำพูดที่สำคัญ ๆ
            10.   การพูดที่ดีต้องมีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น  พยายามหาเรื่องสนุกสนานมาสอดแทรก  แต่อย่าให้ตลกโปกฮาเสียจนขาดเนื้อหาสาระ  ให้มีลักษณะ  “ฟังสนุก และ มีสาระ”  บ้า

การพูดแนะนำตัวเอง
       ตัวอย่าง

       ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ ท่านทราบไหมว่า จังหวัดที่มีคำขวัญว่า "เมืองลิ้นจี่ สตรีสวย
สด สับปะรดหวานฉ่ำ วัฒนธรรมมั่นคง ดำรงประชาธิปไตย" คือจังหวัดอะไร ถ้าไม่ทราบผมจะบอกให้ คือจังหวัดเชียงรายครับเป็นจังหวัดบ้านเกิดเมืองนอนของผม

        ผมเกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 ณ บ้านเลขที่ 11 หมู่1 ถนนพหลโยธิน ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย คุณพ่อชื่อนายเจริญ คุณแม่ชื่อ นางบุญผัน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คน เป็นชาย 2 คน เป็นหญิง 4 คน ผมเป็นคนที่ 2 มีอาชีพทำไร่สับปะรด ปัจจุบันผมรับราชการครูระดับ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ สอนอยู่ โรงเรียนวัดนางแล  ในอนาคต ผมตั้งความหวังเอาไว้ว่าจะลาออกจากราชการเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทน
ราษฎร โดยผมตั้งใจว่า หากได้เป็นผู้แทนราษฎร ผมจะต้องผลักดันให้รัฐบาลขยายการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาไปถึงทุกตำบลให้จงได้ ในการดำเนินชีวิต ผมถืออุดมคติว่า

เราทำดี       ความดี       ไม่หนีห่าง       ลิขิตทาง       เดินเอง        อย่าเกรงกริ่ง       ชีวิตมี       ค่าล้ำ        หากทำจริง        เราหยุดนิ่ง        ก็คล้าย       ตายทั้งเป็น....

ข้อพึ่งหลีกเลี่ยงในการขึ้นต้น
ทินวิฒน์ มฤคพิทักษ์ เสนอแนะได้ว่า

1.             อย่าออกตัว เช่น ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวเสียก่อน ผมไม่ได้เตรียมตัวมาเลย
วันนี้ เพี่งได้รับเชิญส่วนหน้าเพียง 3 วัน ก็เลยหาเวลาตรียมไม่ได้แต่จำเป็น
ต้องมาพูด เพราะได้รับปากไว้แล้ว...(เป็นการดูถูกผู้ฟังอย่างร่ายแรงและไม่ได้
เกียรติผู้เชิญ ด้วย)

2.             อย่าขออภัย เช่น ผมต้องขออภัยท่านทั้งหลาย เรื่องราวที่จะพูดอาจจะผิดผลาดหรือกระทบกระเทือนผู้ใดที่นั่นฟังอยู่ ผมเองก็ไม่แน่ใจนักว่าจะพูดได้ดีหรือถูกต้องแค่ไหน...(ไม่ได้ทำให้เกิดผล
ดรขึ้นเลย ผู้พูดแสดงความไม่แม่ใจออกมาก่อนเช่นนี้ ฝึกฟังก็จะมีแต่เดินออกไป หรือทนฟังอย่างเสียมิได้เท่านั้น)

3.             อย่าถ่อมตัว เช่น ผมรู้สึกเป็นเกียรติสูงที่ได้รับเชิญมาพูดท่านกลางปัญญาชนอย่างท่านทั้งหลาบ แท้ที่จริงผมก็ไม่ใช่คนมีความรู้อะไรมากมายนัก ประสบการณ์ทางนี้ก็น้อยเต็มที่ แต่เมื่อได้ขอร้องแกมบังการถ่อมตัวเล็กๆ น้อยๆ พอให้อภัย แม่ไม่ควรนำมาพาดหัวเช่นนี้ จำทำให้ ผู้ฟังลดศรัทธาลงไปครึ่งหนึ่งทันที)

4.             อย่าอ้อมค้อม เช่น ท่านคงจะรู้จักถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่สวยงาม ร่มรื่นน่าอภิรมย์มาก สองข้างทางมีต้นไม้สวยสดงดงาม ทำความสดชื่นให้กับผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา หาถนนสายอื่นมาเปรียบ    เทียบยาก ถนนสานนี้...(อ่อนใจ กว่าจะรู้ว่าเกิดที่ไหนก็เพลียเสียแล้ว ต้องรวบรัด เข้าประเด็นให้เร็วกว่านี้)

หลักการขึ้นต้นมีอยู่ว่า ต้อง
             รวบรัด        ตรงประเด็น      เป็นอารมณ์    ชวน(ชม)ให้ติดตาม

การใช้กิริยาท่าทาง
 
 เป็นที่ยอมรับแล้วว่า กิริยาท่าทางเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งอันหนึ่งในการพูด แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ 4 ประการ คือ การแสดงสีหน้าการวางท่า การเคลื่อนไหว และการแสดงท่าทาง แต่ในการแสดงนั้นมีทั้ง 4 ประเภท ต้องผสมกลมกลืนกันไปทั้งหมด จะแยกเป็นส่วนสัดออกต่างหากจากกันไม่ได้
             ก. การแสดงสีหน้า ส่วนสำคัญที่สุดของการแสดงสีหน้าได้แก่ ดวงตา ดวงตาเป็นประตูของหัวใจที่จะติดต่อกับคนฟังโดยตรง เราชอบคนพูดที่พูดกับเราโดยไม่หลบตา ไม่ว่าในการพูดคุยธรรมดาหรือบนเวที หากคนที่พูดกับเราคอยหลบตาหรือไม่กล้าสบตา เรามีความไว้วางใจน้อยลง การพูดต่อชุมชน ถ้าผู้พูดที่คอยก้มหน้าดูพื้น ถ้าอ่านที่จดไว้แหงนมองเพดานมองออกไปทางหน้าต่างหรือที่อื่นไม่มองไปยังผู้ฟัง มิฉะนั้นจะทำให้ผู้ฟังขาดความสนใจ
             กลวิธีการมองที่ดีนั้น ควรมองตรงไปยังผู้ฟังคนใดคนหนึ่งตรงกลางห้อง
ประชุม แล้วกวาดสายตาไปทางซ้ายหรือขวาให้เป็นไปตามจังหวะการพูด ไม่เสร็จจนเกินไป ไม่ควรกวาดสายตาเหมือนพัดลมที่ส่ายไป-มา แต่ให้มีลักษณะเหมือนการถ่ายรูป คือ ค่อยๆ เจาะไปทีละจุด
       การแสดงสีหน้าให้ได้ผลมีหลักพึงยึดถือสองประการคือ
1. อย่าสำรวมตนจนเกินไป จนไม่สามารถแสดงสีหน้าได้ตามธรรมชาติ
2. อย่าเตรียมการหรือซักซ้อมการแสดงสีหน้าใว้ล่วงหน้า ปล่อยให้เป็นไปตามจังหวะการพูด หากพูดโดยคิดและรู้สึกตามที่พูดจริงๆแล้ว สีหน้าจะแสดงออกมาตามที่คิดเห็นหรือรู้สึกเองตามธรรมชาติ
  ข้อบกพร่องในการแสดงสีหน้าที่มักพบเห็นกันอยู่เสมอ ได้แก่
1. หน้า ลักไก่ ความเครียดของประสาทมักขัดขวางไม่ให้แสดงสีหน้าตามธรรมชาติ หน้าตาย อาจช่วยในการเล่นไพ่หรือโป๊กเกอร์ได้ดีมากแต่ไม่ช่วยในการพูด ยกเว้นตลกหน้าตายเท่านั้น
2. หน้า เก๊ก คือการตีหน้าแบบละคร โดยทำหน้าแสดงประกอบการพูดเกินควร เป็นการเรียกร้องให้สนใจกับการแสดงสีหน้านั้นมากกว่า
3. หน้า หลุกหลิก เป็นการระบายกำลังงานที่แออัดอยู่ให้ออกมาทางสีหน้า เช่น
ยักคิ้ว หลิ่วตา ขยับคาง ขยับแก้ม โดยไม่เกี่ยวเนื่องกับความคิดอ่านที่เสนอนั้น ต้องปรับตัวให้เหมาะสม
           ข. การวางท่า ไม่มีแบบของการยืน หรือนั่งไว้แน่นอน แต่มีข้อพึงระวังอยู่ว่า อย่ายืน หรือนั่งตัวตรงแข็งที่แบบทหารเฝ้ายาม หรืออกแอ่นพุงแอ่น ให้ยืนหรือนั่งตามสบาย แต่ก็อย่าให้ถึงขนาดตัวห่อ หรือทำท่าจะพังล้มลงให้เท้าห่างจากกันประมาณ 6-12 นิ้วและวางน้ำหนักไว้ตรงอุ้มเท้าจะเป็นท่ายืนที่สบาย
            หากจะให้เหลื่อมล้ำกันก็ไม่ควรเกิน 1 ฟุตโดยวางน้ำหนักตัวไว้ที่เท้าหลังแต่ระวังอย่าให้ถึงขนาดตัวเอียงเอนจนเห็นได้ชัด แขนปล่อยให้ตกไปข้างๆตัวตามปกติ เว้นแต่จะทำมือทำไม้ บางทีอาจยื่นมือไปจับแท่นที่ยืนพูดอย่าชะโงกตัวไปพักน้ำหนักบนแท่นยืนพูดนั้น
นานนัก จะทำให้ไม่มีการทำมือทำไม้เลย ควรเปลี่ยนการวางมือในท่าต่างๆ สลับกันไปตามสมควรตลอดการพูด กรณีเกิดความประหม่า มักรู้สึกว่ามือไม้มันใหญ่เกะกะจนเอาวางไว้ที่ไหนไม่ถูก ควรห้อยมือลงหรือไพล่หลังบีบกันไว้แน่น จะช่วยให้คลายความประหม่าลงได้ ขณะที่ยังประหม่าอยู่อย่าล้วงมือไว้ในกระเป๋ากางเกง เพราะจะเผลอสั่นขยุกขยิกอยู่ในกระเป๋ากางเกงเป็นท่าที่ไม่งาม

ที่มา https://www.google.co.th/urla=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=8&cad=rja&uact=8&sqi=2&ved=0ahUKEwjns6P5wdPNAhXLo48KHVAhBesQFghGMAc&url=http%3A%2F%2Fwww.tatc.ac.th%2Ffiles%2F08122511113930_11060520201651.doc&usg=AFQjCNHt7z3SBoCzVpF9D-DnPtxFJbRWSw&bvm=bv.126130881,d.c2I